การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

62 สังคมเป็นสิ่งที่มาทีหลังนั้นเป็นเรื่องผิด เพราะข้อเท็จจริงในทางประวัติศาสตร์ของสังคมมนุษย์ เป็นที่ประจักษ์แน่แก่ใจทุกคนอยู่แล้วก็คือ คนกับสังคมนั้นเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ออกและ ความเป็นคนนั้นผูกพันอยู่กับการร่วมกันเป็นสังคม เป็นกลุ่มเป็นก้อนเป็นปึกแผ่น คนนั้นแท้จริงแล้ว ดำรงอยู่ได้ เพราะการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ทุกคนจึงต้องขึ้นต่อสังคมโดยส่วนรวม Duguit ปฏิเสธความคิดที่ยืนยันว่าคนทุกคนมีสิทธิในฐานะที่เป็นเอกชนและอธิบายว่า แท้จริงนั้นทุกคนมีภาระ ที่จะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตนในสังคม กฎหมายก็คือสิ่งที่ทำหน้าที่บังคับให้ทุกคนปฏิบัติ ตามหน้าที่ของตัว กฎหมายจึงเป็นระบบของหน้าที่ไม่ใช่ระบบของสิทธิและถ้าคนจะมีสิทธิใดก็ตาม สิทธิอันนั้นแท้จริงแล้วก็คือสิทธิที่จะทำตามหน้าที่ของตนเท่านั้น (สมยศ เชื้อไทย, 2562) (สิทธิกร ศักดิ์แสง, 2562) เห็นว่า เมื่อพิจารณาศึกษาถึงแนวคิด ดิวกีมองหรือเน้นในเรื่อง ประโยชน์ ของสังคมอย่างเดียว จนแทบไม่มีที่ว่างของปัจเจกชนหลงเหลืออยู่ ดังจะเห็นได้จากแนวคิด ที่ปฏิเสธ เรื่อง สิทธิปัจเจกชน รวมทั้งปฏิเสธการแบ่งประเภทของกฎหมาย ปฏิเสธการมองเรื่องความ แตกต่างกฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชน ดังนั้น การใช้สิทธิทางแพ่ง หรือทางทรัพย์สินก็ต้องอยู่ ภายใต้วัตถุประสงค์ของการปกป้องผลประโยชน์ ของสังคมเท่านั้นหาใช่เป็นเรื่องส่วนตัว แนวคิดของ ดิวกีจึงมีส่วนคล้ายกับแนวคิด ของทฤษฎีมาร์กซิสต์ในเรื่องของการเหือดหาย หรือสูญสิ้นของกฎหมาย ในสังคมคอมมิวนิสต์ สมบูรณ์แบบ เมื่อเกิดอรรถประโยชน์สุขของคนส่วนรวม แต่จะแตกต่างตรงที่ มาร์กซิสต์ เห็นว่า ไม่ควรมีกฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคม แต่ดิวกีเห็นว่าควรมี กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมเพื่อส่วนรวมประเภทเดียวเท่านั้น 2.8 แผนพัฒนาเกี่ยวกับการจัดการประมง 2.8.1 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีเป้าหมายให้จัดการทรัพยากร โดยสร้างระบบฐานข้อมูล ในรูปแบบธนาคารพันธุกรรม บริหารจัดการไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ระหว่างคนและชุมชน สร้างกลไก การใช้ประโยชน์ทรัพยากรในท้องถิ่น สร้างเศรษฐกิจภาคทะเลที่ยั่งยืน เพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจ ฐานชีวภาพทางทะเล ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทั้งหมดอย่างบูรณาการ 2.8.2 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) แผนสำคัญที่จัดทำบนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ได้กล่าวถึง ในยุทธศาสตร์หลักที่ 4 “การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” มีแนวทาง การพัฒนาในการรักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สร้างความสมดุลของการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม ใช้ประโยชน์จากทุนธรรมชาติโดยคำนึงถึงขีดจำกัดและศักยภาพในการ ฟื้นตัว รักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร สร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม รวมทั้งผลักดันการสร้างรายได้จากการอนุรักษ์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการ ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ปกป้องทรัพยากรทางทะเล กำหนดมาตรการควบคุมการจับสัตว์น้ำ ห้ามการจับสัตว์น้ำวัยอ่อน ควบคุมเครื่องมือทำประมงที่ผิดกฎหมาย คุ้มครองประมงพื้นบ้าน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3