การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

63 2.8.3 แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562-2566) ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติที่เข้าเป็นภาคี สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนทำให้เกิดพันธะผูกพันในการปฏิบัติตาม โดยเป็น แนวทาง เครื่องมือสำคัญที่องคกรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนจะต้องนําไปใชปฏิบัติในการสงเสริม ปกปอง คุมครองสิทธิมนุษยชนใหแกประชาชน เพื่อใหสามารถเขาถึงสิทธิอันจะพึงได้รับในแต่ละเรื่อง อย่างเทาเทียมกัน เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี ให เกิดแกประชาชนเพิ่มความเขมแข็ง ตามหลักนิติรัฐ และสรางรากฐานที่เขมแข็งใหกับสังคมไทย อันจะนําไปสู่การบรรลุเป้าหมายในการ ทำใหสังคมไทย “เป็นสังคมที่สงเสริมสิทธิ เสรีภาพ และความเทาเทียม โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ ขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนอย่างบูรณาการทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม เพื่อนําไปสู่สังคมที่พัฒนาอย่างยั่งยืน” สำหรับแผนสิทธิมนุษยชนด้านทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม มีข้อเสนอแนะให้เน้นการพัฒนาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่สร้าง ความสมดุลระหว่างการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับและแนวทางที่เหมาะสมเพื่อขับเคลื่อน การเจริญเติบโตของประเทศ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อประโยชน์สูงสุด ของประเทศอย่างยั่งยืน และแผนสิทธิมนุษยชนด้านสิทธิชุมชน วัฒนธรรมและศาสนา มีข้อเสนอแนะ ให้สงเสริมบทบาทขององคกรปกครองทองถิ่นและชุมชนในพื้นที่ในการมีสวนร่วม ออกมาตรการ เฝ้าระวัง บำรุงรักษาสิ่งแวดลอม รวมถึงสงเสริมใหมีการจัดทำกลไกไกลเกลี่ยในระดับชุมชน เพื่อรองรับการเจรจาข้อพิพาทที่เกี่ยวของกับนโยบายรัฐที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชน 2.8.4 ยุทธศาสตร์กรมประมง 5 ปี (พ.ศ. 2560 -2564) ยุทธศาสตร์กรมประมง พ.ศ. 2560 – 2564 เป็นกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนภารกิจ ของกรมประมง มีการกำหนดแนวทางที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ เช่น เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2559 -2573 (Sustainable development goal: SDGs) จรรยาบรรณการทำระมงอย่างรับผิดชอบ (FAO Code of conduct for responsible fisheries: CCRF) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) โดยกรมประมงได้กำหนดยุทธศาสตร์หลักไว้ 4 ยุทธศาสตร์ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านปรากฎในยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการด้านการประมงและ ทรัพยากรสัตว์น้ำให้มีความยั่งยืนและคงความหลากหลาย เป้าประสงค์เพื่อบริหารจัดการทรัพยากร ประมง ให้มีความอุดมสมบูรณ์และคงความสมดุลของโครงสร้าง มีตัวชี้วัด ได้แก่ จำนวนชุมชนประมง ท้องถิ่นที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรประมง จำนวนผู้กระทำผิดกฎหมายลดลง ปริมาณ การจับสัตว์น้ำต่อหน่วยลงแรงทำการประมงเพิ่มขึ้น มีกลยุทธ์ ได้แก่ การฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำและ แหล่งที่อยู่อาศัยเพื่อสร้างสมดุลและความหลากหลายเพื่อให้มีทรัพยากรใช้อย่างยั่งยืน ส่งเสริมการมี ส่วนร่วมเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ สนับสนุนให้ชาวประมงมีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการทรัพยากร ควบคุมและป้องกันการทประมงให้เป็นไปตามกฎหมายและแผนระดับชาติ เพื่อควบคุมการทำประมงให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์กรมประมงไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เป็นตามแนวทางวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และตัวชี้วัด ในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ ซึ่งจะต้องมีความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3