การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

67 นายจ้าง กัปตัน และลูกเรือ จะต้องได้รับการรับรองว่าไม่ได้ละเมิดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม หน่วยราชการส่วนท้องถิ่น Local government units (LGUs) จะต้องกำหนดกฎการควบคุมการจับ ภายในน่านน้ำของเทศบาล โดยชาวประมงในเขตเทศบาลได้รับสิทธิพิเศษในการใช้พื้นที่ทำการประมง ในเขตเทศบาล กรมและหน่วยราชการส่วนท้องถิ่น LGUs ต้องให้การสนับสนุนแก่ชาวประมงในเขต เทศบาลผ่านทางเทคโนโลยีและการวิจัย สินเชื่อ ความช่วยเหลือด้านการผลิตและการตลาด และ บริการอื่นๆ แรงงานประมงมีสิทธิได้รับเอกสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแรงงาน ระบบประกันสังคม และผลประโยชน์อื่นตามกฎหมายอื่น คนงานประมงบนเรือประมงใดๆ ที่ประกอบการประมง ได้รับ การคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแรงงานของฟิลิปปินส์ (Oceana (online), 2017) 2.10 กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล 2.10.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในบทบัญญัติเรื่องสิทธิชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีปรากฏ อยู่ 2 ส่วน ส่วนแรก คือ บทบัญญัติหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยมาตรา 43 โดยบัญญัติให้บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ จัดการ บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยจะร่วมกับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นหรือรัฐในการดำเนินการด้วยก็ได้ ส่วนที่สอง บัญญัติไว้ในหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 57 (2) รัฐมีหน้าที่อนุรักษ์ คุ้มครอง บำรุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มีการใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์ อย่างสมดุลและยั่งยืน โดยต้องให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินการและ ได้รับประโยชน์ อย่างไรก็ตามการจัดสรรทรัพยากร มิใช่แต่เพียงเป็นบทบาทหน้าที่รัฐหรือชุมชน เพียงอย่างเดียวเท่านั้น บทบัญญัติรัฐธรรมนูญในหมวด 4 มาตรา 50 ได้บัญญัติให้เป็นหน้าที่ ของทุกคนด้วยที่จะต้องร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรเกิดความยั่งยืน (รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, 2560) 2.10.2 พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 สำหรับเรื่องการทำประมงนั้นจะเห็นได้ว่า มีพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 โดยในมาตรา 4 ได้กล่าวถึงความมุ่งหมายของพระราชกำหนด ก็เพื่อจัดระเบียบการประมง ในประเทศไทย ป้องกันมิให้มีการทำประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย รักษาทรัพยากรสัตว์น้ำให้อยู่ ในภาวะที่เป็นแหล่งอาหารของมนุษยชาติอย่างยั่งยืน และรักษาสภาพแวดล้อมให้ดำรงอยู่ในสภาพ ที่เหมาะสมตามแนวทางกฎเกณฑ์ และมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับนับถือในนานาประเทศ อีกทั้ง ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนประมงพื้นบ้านและชุมชน ประมงท้องถิ่น และเพื่อกำหนดมาตรการในการป้องกันยับยั้ง และขจัดการประทำประมงโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย และการใช้แรงงานผิดกฎหมายในภาคประมง อีกทั้งตามมาตรา 9 กำหนดให้ กรมประมงดำเนินการรวบรวมและข้อมูลการอนุญาต ออกใบอนุญาตจดทะเบียน และจัดทำ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3