การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

68 สถิติการประมง ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำตามมาตรา 22 ในการ ปกป้องและคุ้มครองสิทธิ พัฒนาและส่งเสริมอาชีพและความเป็นอยู่ของชาวประมงไทย ตามมาตรา 25 ให้กรมประมงดำเนินการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุน ส่งเสริม การมีส่วนร่วมและสนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่นในการจัดการ บำรุงรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรสัตว์น้ำ ให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนการส่วนร่วมของชุมชน ประมงท้องถิ่นในการจัดทำนโยบายการพัฒนาการประมง สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มและให้มีการ ขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น ให้คำปรึกษาแก่ชุมชนประมงท้องถิ่น รวมทั้งช่วยเหลือ สนับสนุนการดำเนินงาน โครงการหรือกิจกรรมของชุมชน เผยแพร่ความรู้หรือข้อมูลข่าวสาร ซึ่งการขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนประมง ท้องถิ่นกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรประมงแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ สร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับชุมชน ส่งเสริม การแปรรูปสัตว์น้ำ พัฒนาอาชีพ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากสินค้าประมง ส่งเสริมการตลาด เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า พัฒนาต่อยอดกิจกรรมจากการประกอบอาชีพการทำประมง ให้เกิดความมั่นคง ชุมชนเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ออนไลน์), 2565) เป็นเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ขจัดปัญหา IUU Fishing หรือการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุมอีกด้วย (กรมประชาสัมพันธ์ (ออนไลน์), 2562) มีองค์กรชุมชน ประมงท้องถิ่นที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมง รวมจำนวนทั้งสิ้น 2,535 องค์กร จำนวนสมาชิก 95,427 ราย ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านประมงทะเลชายฝั่ง จำนวน 795 องค์กร สมาชิก 32,857 ราย ด้านประมงทะเลนอกชายฝั่ง จำนวน 64 องค์กร สมาชิก 3,900 ราย ด้านประมงน้ำจืด จำนวน 534 องค์กร สมาชิก 18,834 ราย ด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน 821 องค์กร สมาชิก 31,959 ราย และด้านการแปรรูปสัตว์น้ำ จำนวน 321 องค์กร สมาชิก 7,877 ราย (กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง(ออนไลน์), 2564) ซึ่งหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนองค์กร ชุมชนประมงท้องถิ่นกับกรมประมงจะต้องเป็นองค์กรซึ่งมีลักษณะเป็นนิติบุคคล คณะบุคคล หรือ องค์กรอื่นใดที่มีวัตถุประสงค์หรือกิจกรรมเกี่ยวข้องโดยตรงกับการประมงในท้องถิ่น และมีสมาชิก รวมกันไม่น้อยกว่า 7 คน โดยไม่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน มีสัญชาติไทย เป็นผู้ประกอบอาชีพ การประมง และมีภูมิลำเนาหรือประกอบอาชีพการประมงอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชนประมงท้องถิ่น โดยมี ประมงจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติ หรือเพิกถอนการขึ้นทะเบียน (ประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น พ.ศ. 2558, 2558) คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตามมาตรา 26 โดยผู้ว่าราชการจังหวัด เป็น ประธานกรรมการมีอำนาจตามมาตรา 28 ในการพิจารณาและเสนอแนวทางในการพัฒนาหรือแก้ไข ปัญหาการประมง หรือจัดการการบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์ในที่ จับสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมีอำนาจออกประกาศได้ ตามมาตรา 71 ในส่วนของบทกำหนดโทษ มาตรา 121 ได้ระบุวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดโทษทางอาญา ให้เหมาะสมและได้สัดส่วนกับการกระทำความผิด เพื่อให้การบังคับใชักฎหมาย มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการป้องกันไม่ให้ผู้กระทำความผิดได้รับประโยชน์จากการกระทำความผิด ซึ่งหากผู้ทำการ ประมงพื้นบ้านผู้ใดทำการประมงโดยใช้เครื่องมือไม่ตรงกับประเภทที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3