การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

72 5) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นพระราชบัญญัติที่จัดระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ให้เป็นไปตามหลักการปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งพระราชบัญญัติฉบับนี้มิได้กำหนด อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลไว้โดยเฉพาะจึงต้องอาศัย ฐานอำนาจจากกฎหมายอื่น แต่ให้อำนาจในการตราข้อบัญญัติไว้ในมาตรา 97 และการเสนอ ร่างข้อบัญญัติเป็นไปตามมาตรา 98 (พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528, 2528) 6) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นพระราชบัญญัติที่จัดระเบียบบริหารราชการ เมืองพัทยา ซึ่งเป็นการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ที่ให้อิสระในการกำหนดนโยบาย การปกครอง การบริหาร การบริหารงานบุคคล การเงิน และการคลัง ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากร ประมงพื้นบ้านทางทะเล อยู่ในมาตรา 62 (2) เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ อำนาจในการตราข้อบัญญัติเป็นไปตามมาตรา 70 และการเสนอ ร่างข้อบัญญัติเป็นไปตามมาตรา 71 (พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542, 2542) 7) พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2565 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิเข้าชื่อกันเพื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น ซึ่งการเข้าชื่อเสนอ ข้อบัญญัติท้องถิ่นเป็นไปตามมาตรา 5 มาตรา 6 และผู้มีสิทธิเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นเป็นไปตาม มาตรา 7 (พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542, 2542) 2.11 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล งานวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มประมงพื้นบ้านสู่การสร้างเครือข่ายชุมชน การจัดการทรัพยากรบึงขุนทะ เล ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ของ (พงศ์เทพ แก้วเสถียร, 2564) ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการพัฒนาศักยภาพกลุ่มประมงพื้นบ้าน เป็นการพัฒนาและยกระดับความรู้ความสามารถเพื่อนำไปสู่การสร้างอาชีพและรายได้เสริม มีการสร้างเครือข่ายร่วมกับสถาบันการศึกษายกระดับและพัฒนากลุ่มประมงพื้นบ้านในการจัดการ ทรัพยากรร่วมกัน การพัฒนาศักยภาพภูมิปัญญารวมกลุ่มสร้างอาชีพ สร้างรายได้และร่วมกันสืบทอด การทำเครื่องมือประมงพื้นบ้าน อีกทั้งแนวทางการสร้างเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้าน เป็นการทำงาน ในรูปแบบการสร้างเครือข่ายการจัดการทรัพยากรชุมชนด้วยการประสานความร่วมมือ ระหว่าง ประมงพื้นบ้าน ชุมชน ผู้นำ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัด สถาบันการศึกษา ซึ่งรูปแบบการจัดการ ทรัพยากรร่วมเพื่อสร้างพื้นที่เรียนรู้อนุรักษ์ทรัพยากรชุมชน มีการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์การ ดูแล การอนุรักษ์ทุกคนที่ต้องการเข้ามาเรียนรู้ และแนวทางการจัดการพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรชุมชน เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายชุมชนในการจัดการทรัพยากรเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง พัฒนาไปสู่การสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนและความยั่งยืนของทรัพยากรในชุมชน โดยมี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3