การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

73 ข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามาสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาและการอนุรักษ์ของชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มาจากความต้องการของชุมชน และมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้กำหนด นโยบายเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่ง และการเสริมสร้างจิตสำนึก ความรู้ด้านกฎหมาย และหลักสิทธิชุมชน งานวิจัยเรื่องแนวทางการดำรงชีพอย่างยั่งยืนของชุมชนประมงพื้นบ้าน กรณีศึกษาพื้นที่ อ่าวไทยตอนกลางของ (ปิ่นแก้ว ทองกำเหนิด et al., 2561) ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะของพื้นที่ ที่เป็นแหล่งทำประมงบริเวณหน้าบ้านมีผลทำให้รูปแบบการทำประมงแตกต่างกัน ปัญหาการลดลง ของทรัพยากรส่งผลรายได้ในการดำรงชีพของชาวประมง ความยั่งยืนของทรัพยากรประมง อยู่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนประมงในการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม การดูแลอนุรักษ์ ทรัพยากรหน้าบ้าน และการสนับสนุนของรัฐ การกำหนดทิศทางและการแก้ไขปัญหาการดำรงชีพของ ชุมชนต้องพึ่งพิงตนเองในการคิด ทำ และแก้ปัญหาภายในชุมชน แนวทางที่เหมาะสมคือการรับรู้ ทันต่อสถานการณ์ การวิเคราะห์ร่วมกันของกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านในการปรับเปลี่ยนและควบคุม การทำประมงให้อยู่ในรูปของการจัดการร่วม ภายใต้หลักวิชาการและความรู้ของชาวประมง การสร้าง การมีส่วนร่วมที่เป็นรูปธรรมคือ การจัดตั้งองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นซึ่งเข้าไปเป็นตัวแทน ในคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด ร่วมขับเคลื่อนและดูแลรักษา ฟื้นฟูทรัพยากรประมง แนวทาง ที่ช่วยสนับสนุนทุนทางสังคมของชาวประมงพื้นบ้านให้มีความเข้มแข็ง โดยร่วมกันกระตุ้นหรือผลักดัน ให้ทุกคนรับรู้หลักคิดและการทำงานร่วม การเสริมสร้างผู้นำในชุมชน การสะท้อนปัญหาต้องยึด ทรัพยากรเป็นหลัก ซึ่งชุมชนที่มีความเหนียวแน่นทางสังคมและมีรูปแบบโครสร้างการจัดการชัดเจน จะช่วยให้การดำรงชีพของชาวประมงพื้นบ้านมีความมั่นคง งานวิจัยเรื่องปัญหาทางกฎหมายในการทำประมงพื้นบ้านของ (สุริยพงษ์ พรหมวิเชียร, 2563) ซึ่งตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2558 และระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่าด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนชายฝั่งและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560 รวมถึงกฎกระทรวงและประกาศที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ มีปัญหาการบังคับใช้ในทางปฏิบัติ ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวประมงพื้นบ้านด้วยกันเอง หรือระหว่างชาวประมงพื้นบ้านกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐ ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการแย่งพื้นที่ประกอบอาชีพของชาวประมง พื้นบ้านเกิดจากการแย่งชิงลูกหอยแครงในพื้นที่อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีบุคคลหลายกลุ่ม เข้าไปหาประโยชน์จากพื้นที่ ทั้งชาวประมงพื้นบ้าน นายทุน รวมทั้งหน่วยงานรัฐบางหน่วย ทำให้ ชาวประมงพื้นบ้านไม่สามารถเข้าไปเก็บหอยแครงได้้เนื่องจากมีคนอ้างตัวเป็นเจ้าของ จนเกิดปัญหา ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาวบ้านและนายทุน อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องระยะเวลาการรื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง อาคาร (ขนำเฝ้าหอยและโฮมสเตย์) หรือสิ่งใด ๆ ที่ก่อสร้างหรือติดตั้งในที่จับสัตว์น้ำ เนื่องจากเมื่อภาครัฐออกมาตรการโดยไม่ผ่านการรับฟังข้อมูลอย่างรอบด้านและเพียงพอ ทำให้ มีชาวประมงพื้นบ้านบางส่วนได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว และมีปัญหาการมีส่วนร่วมของ ชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่ง เนื่องจากระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง ว่าด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนชายฝั่งและองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560 ยังไม่เห็นผลในทางปฏิบัติ มีความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างชาวประมง พื้นบ้านกับผู้ประกอบการคอกหอย และการมีส่วนร่วมของชุมชนชายฝั่งและองค์กรปกครอง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3