การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
74 ส่วนท้องถิ่นยังขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติการ โดยงานวิจัยได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหา ทางกฎหมาย ให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่อง กำหนด เขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. 2560 แก้ไขเพิ่มเติมประกาศจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่อง ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง อาคาร (ขนำเฝ้าหอยและโฮมสเตย์) หรือสิ่งใด ๆ ที่ได้ก่อสร้างหรือติดตั้งในที่จับสัตว์น้ำบริเวณทะเล อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่องระยะเวลาในการสั่งรื้อถอน และแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งว่าด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนชายฝั่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560 สำหรับการเข้าใช้ทรัพยากรประมงของชาวประมงพื้นบ้าน ในงานวิจัยเรื่อง การต่อสู้ต่อรอง ในการเข้าใช้ทรัพยากรประมงของชาวประมงพื้นบ้านในเขตพื้นที่อนุรักษ์ชายฝั่ง อ่าวนครศรีธรรมราช ของ (กฤตภาส ศรีระษา, 2556) ผลการศึกษาพบว่า ในอดีตอ่าวนครศรีธรรมราชเป็นแหล่ง ทำการประมงที่สำคัญ มีความหลากหลายของการทำอาชีพประมง แต่จากสภาพความเสื่อมโทรมของ ทรัพยากรประมง และปัญหาการบุกรุกป่าชายเลน การปล่อยสารพิษลงสู่แหล่งน้ำ การใช้เครื่องมือ ประมงแบบทำลายล้าง และจากโครงการพัฒนา ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพนำไปสู่ปรับเปลี่ยน วิถีการทำประมง มีการพัฒนาเครื่องมือ ขยายพื้นที่วางเครื่องมือ เพื่อให้จับสัตว์น้ำเพียงพอ ต่อการดำรงชีพ ส่งผลให้รัฐโดยกรมประมง เห็นว่าเป็นการทำลายพันธุ์สัตว์น้ำ จึงมีการควบคุม การใช้ทรัพยากร และใช้มาตรการทางกฎหมายลงโทษผู้กระทำผิด ส่งผลให้ชาวประมงถูกจำกัดสิทธิ ในการทำประมง และเป็นชนวนเหตุนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับชาวประมง ทำให้ ชาวประมงปรับยุทธวิธี เช่น ลักลอบทำประมงในพื้นที่หวงห้าม ดื้อแพ่ง ใช้ระบบความสัมพันธ์ ทางสังคมรวมกลุ่มเสนอข้อเรียกร้องต่อภาครัฐ ใช้องค์ความรู้ของระบบนิเวศตอบโต้ภาครัฐ รวมทั้ง การวิพากษ์วิจารณ์นโยบายการบริหารจัดการของกรมประมงไปในทางลบ งานวิจัยมีข้อเสนอแนะ ในการแก้ปัญหาของหน่วยงานภาครัฐควรคำนึงถึงบริบทของชุมชนและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงของ ชุมชนเป็นหลัก ควรส่งเสริมอาชีพอื่นที่เหมาะสมรองรับเพื่อจูงใจให้ชาวประมงเลิกใช้เครื่องมือประมง ผิดกฎหมาย อีกทั้งการออกกฎหมายหรือแนวปฏิบัติต่าง ๆ ขาดการมีส่วนร่วมหรือแสดงข้อคิดเห็น จากประชาชนในพื้นที่ จึงควรให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วม หรือรับฟังข้อเสนอ นำไปสู่การ ตัดสินใจปัญหาร่วมกัน และชาวประมงควรตระหนักถึงสิทธิของตนเอง รวมตัวจัดตั้งกลุ่มอย่างเป็น ทางการ เพื่อเป็นการเสริมพลังในการเจรจาต่อรองกับหน่วยงานภาครัฐ เมื่อกล่าวถึงงานวิจัยเรื่อง นโยบายรัฐและความขัดแย้งของชาวประมงพื้นบ้านชายฝั่งทะเล ตะวันออกภาคใต้ของ (พรพันธุ์ เขมคุณาศัย, 2549) ผลการศึกษาพบว่า บริบทและรูปแบบการเข้าถึง ทรัพยากรชายฝั่งก่อนการพัฒนาประมงทะเลของรัฐ มีการใช้ระบบการแบ่งปันที่มาจากเหตุผล ทางเศรษฐกิจเชิงศีลธรรมเป็นฐานคิดให้ความหมายพื้นที่เพื่อลดความขัดแย้งจากที่มีคนหลายกลุ่ม เข้าไปทำการประมงในพื้นที่เดียวกัน การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเข้าถึงทรัพยากรเป็นไปตามนโยบาย การพัฒนาของรัฐทั้งเข้าถึงแบบเปิดและเข้าถึงแบบเอกชน อีกทั้งยังมีการใช้ระบบความเชื่อทางศาสนา อิสลามที่มีความคงทนมากกว่าเป็นพื้นฐานให้ความหมายพื้นที่ ทำให้แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ และไม่ได้ปรับตัวยอมรับนโยบายการพัฒนาของรัฐ ยังดำรงชีพสัมพันธ์กับสภาพ ธรรมชาติ โดยรูปแบบการเข้าถึงทรัพยากรของชาวประมงเป็นแบบมีส่วนร่วม การขยายพื้นที่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3