การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
75 ทางเศรษฐกิจของรัฐเข้าไปในเขตประมงชายฝั่ง ทำให้มีคนหลายกลุ่มเข้าไปช่วงชิงผลประโยชน์นำไปสู่ ความขัดแย้งในชุมชนชาวประมง จึงมีการปรับตัวจากชาวประมงพื้นบ้านไปสู่ชาวประมงพาณิชย์ และ เป็นเจ้าของฟาร์มหอยรายย่อยในทะเลมีการต่อรองทั้งแบบปัจเจกและแบบกลุ่ม รวมทั้งการรุกทะเล โดยอาศัยความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และกฎหมายของรัฐเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงทรัพยากรภายใต้ ผลประโยชน์ของปัจเจก อีกทั้งยังมีการต่อรองเพื่อเข้าถึงทรัพยากรในระดับชุมชน โดยเพิ่ม ความเคร่งครัดในศาสนาอิสลาม หวนกลับไปสู่ความเชื่อดั้งเดิม และการใช้สิทธิเหนือทะเลหน้าบ้าน ในงานวิจัยเสนอแนะว่า รัฐควรมองมิติการจัดการทรัพยากรคงไว้ซึ่งกรรมสิทธิ์ส่วนรวม การมีส่วนร่วม ของชุมชนในการจัดการทรัพยากรเป็นวิธีการที่เหมาะสมใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งที่สลับซับซ้อน ในพื้นที่ ในงานวิจัยเรื่อง การจัดการทรัพยากรชายฝั่งโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน กรณีศึกษา ชุมชนบากันเคย ตำบลตันหยงโป อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ของ (จิราพร โชติพานิช, 2556) ผลการศึกษาพบว่า การตั้งถิ่นฐานของชุมชนสัมพันธ์กับลักษณะภูมินิเวศและการใช้ประโยชน์ ทรัพยากรชายฝั่งในการประกอบอาชีพประมง และมีวิวัฒนาการแตกต่างกันออกไปแต่ละยุคสมัย นำมาซึ่งความเสื่อมโทรมของทรัพยากรชายฝั่ง การก่อตัวของชุมชนที่เข้ามามีบทบาทจัดการ ทรัพยากรอย่างเป็นระบบภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยการสร้างจิตสำนึก มีส่วนร่วม เฝ้าระวัง อนุรักษ์ และการกำหนดเขต และควบคุมการทำประมงผิดกฎหมายแบบทำลายล้าง งานวิจัยเสนอแนะว่า การจัดการทรัพยากรชายฝั่งของชุมชน ภาครัฐควรเข้ามามีส่วนร่วมให้ความรู้ ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากร ตลอดจนการเฝ้าระวัง ฟื้นฟู และการบังคับ ใช้กฎหมายตามความเหมาะสม แนวทางในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งแบบยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วม ของชุมชน ควรมีการประสานความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ สร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรชุมชน สามารถพึ่งตนเอง สนับสนุนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน ส่งเสริม การเรียนรู้ ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สืบสานภูมิปัญญา พัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการ ทรัพยากรและการดำรงชีวิต งานวิจัยกฎหมายกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ศึกษาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ของ (กรกฎ ทองขะโชค & จันทราทิพย์ สุขุม, 2552) ผลก ารศึกษาพบว่า การดูแลพื้นที่ลุ่มน้ำทะ เลสาบสงขลาในอดีต เป็นก ารบริหารจัดก าร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยภาครัฐแต่เพียงอย่างเดียว ทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือจาก ประชาชนหรือประชาชนไม่รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการสิ่งแวดล้อม ทำให้ภาครัฐเผชิญกับ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับองค์กรของรัฐ และอุปสรรคต่างๆ การให้ประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วม รับทราบข้อมูลข่าวสาร เป็นผู้นำในการจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณลุ่มน้ำ ภาครัฐควรมีบทบาท เป็นผู้ส่งเสริมและสนับสนุนมิใช่ผู้กุมอำนาจในการจัดการสิ่งแวดล้อม งานวิจัยจึงเสนอแนะ ให้ออกกฎหมายตั้งสภาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นหน่วยงานภาคประชาชนในการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยหน่วยงานรัฐเป็นเพียงผู้ประสานงาน ในงานวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรประมง ในลุ่มน้ำ ทะเลสาบสงขลา ของ (ศิริชัย กุมารจันทร์ et al., 2558) ผลการศึกษาพบว่า สิทธิของประชาชน ในการจัดการทรัพยากรประมงปรากฏในหลักการรัฐธรรมนูญ แต่การจัดการทรัพยากรประมง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3