การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

76 ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่ผ่านมาไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร สาเหตุมาจากขาดการมีส่วนร่วม ของประชาชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ซึ่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มีการบัญญัติ ให้ประชาชนหรือชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการประมง แต่ภาครัฐโดยประมงจังหวัดสงขลา มีเพียงโครงการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการประมงในรูปแบบฟาร์มทะเล ซึ่งยังมีปัญหา ความขัดแย้งกับกลุ่มนอกชุมชน ในพื้นที่ชุมชนท่าเสาและชุมชนบ่อปาบมีการทำข้อตกลงชุมชน เรื่องการจัดการประมงฟาร์มทะเล ปัจจัยความสำเร็จการรวมกลุ่มเกิดจากประชาชนเห็นว่าทรัพยากร ประมงเป็นของที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ควรการจัดการอย่างเป็นระบบ อีกทั้งมีประมงจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด มหาวิทยาลัย เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริม เรียนรู้ จัดโครงการ ทำให้เป็นแบบอย่างสำหรับชุมชนอื่นในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ปัญหาอุปสรรคคือ ข้อตกลงหรือกติกา ของชุมชนในการจัดการประมงชายฝั่งเป็นที่รับรู้เฉพาะในชุมชน ไม่เป็นกฎหมาย ทำให้ไม่สามารถ ใช้บังคับได้ งานวิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงกฎหมายกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ และขอบเขตในการจัดการทรัพยากรให้ชัดเจนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อผลักดันให้กติกา และข้อตกลงของประชาชน เป็นข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีสิทธิในการจัดการ ทรัพยากรประมงโดยชุมชนอย่างแท้จริง การที่หน่วยงานภาครัฐควบคุมการใช้ทรัพยากรอย่างเข้มงวด และใช้มาตรการทางกฎหมาย ลงโทษผู้กระทำผิด ส่งผลให้ชาวประมงถูกจำกัดสิทธิในการทำประมง เป็นชนวนเหตุนำไปสู่ ความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับชาวประมง (กฤตภาส ศรีระษา, 2556) เห็นว่า ชาวประมงมีการ ปรับยุทธวิธีต่าง ๆ ที่ผิดกฎหมายและถูกกฎหมายในการเข้าใช้ทรัพยากรประมง เช่น การลักลอบ เข้าทำประมงในพื้นที่หวงห้าม การดื้อแพ่ง การใช้ระบบความสัมพันธ์ทางสังคม การรวมกลุ่มเสนอ ข้อเรียกร้องต่อภาครัฐ การใช้องค์ความรู้ของระบบนิเวศตอบโต้ภาครัฐ รวมทั้ง การวิพากษ์วิจารณ์ นโยบายการบริหารจัดการของกรมประมงไปในทางลบซึ่งการจัดการทรัพยากรชายฝั่งโดยการ มีส่วนร่วมของประชาชน (จิราพร โชติพานิช, 2556) เห็นว่า จำเป็นต้องให้ภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วม ให้ความรู้ ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากร ตลอดจนการเฝ้าระวังฟื้นฟู และ การใช้กฎหมายเป็นการจัดการทรัพยากรชายฝั่งในแนวทางของการบังคับใช้ตามความเหมาะสม แนวทางในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งแบบยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ควรมีการประสาน ความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อร่วมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรชุมชนให้สามารถพึ่งตนเอง สนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการเรียนรู้ ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และร่วมสืบสานภูมิปัญญาพัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการ ทรัพยากรและการดำรงชีวิต รวมทั้งการสนับสนุนจากภาคีองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งตรงกับงานของ (กรกฎ ทองขะโชค & จันทราทิพย์ สุขุม, 2552) ได้ศึกษากฎหมายกับการมีส่วน ร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น การบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยภาครัฐเพียงอย่างเดียว อาจทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือจาก ประชาชนหรือประชาชนไม่เกิดความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการสิ่งแวดล้อม เกิดปัญหา ด้านความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับองค์กรของรัฐ มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วม รับทราบข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในหน่วยงานของรัฐ ประชาชนควรเป็นผู้นำในการจัดการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3