การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

77 สิ่งแวดล้อม ภาครัฐควรเป็นเพียงผู้ส่งเสริมและสนับสนุนเท่านั้น ดังที่ (พรพันธุ์ เขมคุณาศัย, 2549) เห็นว่าการคงไว้ซึ่งกรรมสิทธิ์ส่วนรวมยังคงมีความจำเป็นท่ามกลางความเหลื่อมล้ำทางฐานะเศรษฐกิจ ของคนในสังคม และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรยังเป็นวิธีการที่เหมาะสมในการ ใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งที่มีความสลับซับซ้อนในพื้นที่ แนวทางในการจัดการทรัพยากรประมง พื้นบ้านได้นั้น ในงานของ (ศิริชัย กุมารจันทร์ et al., 2558) มีข้อเสนอสำคัญที่สามารถนำมาต่อยอด และพัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้าน คือ ข้อตกลงหรือกติกาของชุมชนในการ จัดการประมงชายฝั่งเป็นที่รับรู้เฉพาะในชุมชน ข้อตกลงหรือกติกาของชุมชนดังกล่าวยังไม่เป็น กฎหมายทำให้ไม่สามารถใช้บังคับได้ จึงควรผลักดันให้กติกาและข้อตกลงของประชาชนในรูปแบบ ของข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ ในการส่งเสริมให้ประชาชนมีสิทธิในการจัดการทรัพยากรประมงอย่าง ชัดเจน และสามารถนำไปใช้ได้จริงต่อไปในอนาคต เมื่อกล่าวถึงการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ในงานวิจัยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ตั้ง อยู่บนพื้นฐานของสิทธิชุมชนในการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นทางทะเล ในพื้นที่องค์การบริหาร ส่วนตำบลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ของ (นฤดม ทิมประเสริฐ, 2554) ผลการศึกษาพบว่า การจัดการทรัพยากรชายฝั่งโดยรัฐมีความทับซ้อนเชิงสถาบันเป็นปัญหาสำคัญ ชาวประมงพื้นบ้าน อ่าวท่าศาลามีรูปแบบและวิธีการจัดการทรัพยากร กำหนดกฎหรือกติการ่วมกัน ผ่านระบบสิทธิในการ เข้าถึงทรัพยากรและการใช้ประโยชน์ทั้งแบบชั่วคราวหรือถาวร สิทธิของผู้มาก่อน สิทธิการใช้ เครื่องมือประมงที่ไม่ทำลายระบบนิเวศ สิทธิการนําทรัพยากรมาใช้ และสิทธิใช้ทรัพยากร โดยไม่สร้าง ความเดือดร้อนหรือละเมิดสิทธิผู้อื่น วิวัฒนาการการต่อสู้ของชุมชนชาวประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา เกิดจากการลักลอบทำประมงของเรือประมงพาณิชย์ในเขตทะเลชายฝั่ง จึงรวมตัวกันก่อตั้งเป็น เครือข่ายประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา ยื่นหนังสือถึงหน่วยงานของรัฐ ชุมนุมประท้วง ก่อนที่จะร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลาและองค์กรอื่น ๆ จัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นทางทะเลได้สำเร็จและ แก้ปัญหาได้ในที่สุด (องค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา (ออนไลน์), 2552) การจัดทำข้อบัญญัติ ท้องถิ่นทางทะเลประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่การวางแผน การดำเนินการ การจัดสรรผลประโยชน์ และ การติดตามประเมินผล ปัจจัยความสำเร็จคือการดำเนินการถูกต้องตามหลักการการจัดทำข้อบัญญัติ ท้องถิ่น ภาครัฐมีกฎหมายและนโยบายสนับสนุนเรื่องสิทธิชุมชนและกระบวนการมีส่วนร่วม เกิดจิตสํานึกและประโยชน์ร่วมกัน ผู้นํามีความเข้มแข็ง และหน่วยงานต่าง ๆ ให้การสนับสนุน งานวิจัยเรื่อง ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อการจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ของ (กรกฎ ทองขะโชค, 2562) ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุของปัญหาและอุปสรรคในการจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบ สงขลา คือ การมีหน่วยงานหลายหน่วยงานดำเนินการแต่ไม่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วม ดำเนินการ การแก้ปัญหาด้วยการจัดทำบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อการจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยมีโครงสร้างกฎหมาย 20 ข้อ แบ่งเป็น 5 หมวด หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 คณะกรรมการ ท้องถิ่นเพื่อการจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา หมวด 3 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการท้องถิ่น เพื่อการจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา หมวด 4 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก เครือข่ายท้องถิ่นลุ่มน้ำ ทะเลสาบสงขลา หมวด 5 กองทุนท้องถิ่นลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา จะทำให้การจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบ สงขลามีประสิทธิภาพขึ้น งานวิจัยนี้จึงเสนอแนะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำข้อบัญญัติ ท้องถิ่นต้นแบบ และนำไปใช้ในการจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3