การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
79 ประมง ได้แก่ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติ เทศบาล พ .ศ. 2496 พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ .ศ. 2537 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 และพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2565 รวมถึงศึกษา รายงานวิจัย ตำรา และบทความทั้งของไทยและต่างประเทศ ข้อมูลเอกสารที่ได้มา มีทั้งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล 3.2 การวิจัยภาคสนาม (Field research) การวิจัยภาคสนามเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลมาจากผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยตรงจากการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล ซึ่งเป็นการศึกษาปัญหาการจัดการ ทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลที่ขาดการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและ ชุมชนท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การกำหนดรูปแบบและกลไกการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล ให้เกิดการอนุรักษ์ใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน ซึ่งปัจจัยหนุนเสริมโดยให้ชุมชนเข้ามามีบทบาท ในการดูแลพัฒนาการบริหารจัดการประมงในท้องถิ่นของตนเอง จะช่วยลดปัญหาความขัดแย้ง เกิดความรู้ความเข้าใจ การหวงแหน การทำการประมงอย่างมีความรับผิดชอบ สามารถเพิ่มปริมาณ สัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติให้มากขึ้นสร้างรายได้ให้ชาวประมงพื้นบ้าน และชุมชนเพื่อความอยู่ดี กินดีต่อไป ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนวิธีการในการเก็บข้อมูลซึ่งการศึกษานี้กำหนดระเบียบวิธีวิจัย เชิงคุณภาพ 1) ขอบ เขตผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ในการ เก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยสน าม (Field research) ประกอบด้วย 3 วิธี คือการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) การระดมความคิดเห็นด้วยการ สนทนากลุ่มเจาะจง (Focus group) ดังนี้ (1) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึก ด้วยการ สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล โดยใช้วิธีการ สัมภาษณ์ตามประเด็นที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า และดำเนินการสัมภาษณ์โดยตรงระหว่างผู้วิจัยกับ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เป็นการสัมภาษณ์ไม่เป็นแบบพิธี ในพื้นที่ต่าง ๆ รวมจำนวน 23 คน ดังนี้ - ตัวแทนประชากรพื้นที่อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเคยเกิดความขัดแย้ง ในการแย่งชิงทรัพยากรประมง เมื่อปี 2563 ประกอบด้วยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม จำนวน 5 คน ได้แก่ กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ เป็นผู้แทนกรมประมง จากสำนักงานประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 1 คน ผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จากสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 (สุราษฎร์ธานี) จำนวน 1 คน และผู้แทนกรมเจ้าท่า จากสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาสุราษฎร์ธานี จำนวน 1 คน กลุ่มผู้นำชุมชนท้องถิ่น เป็นผู้นำชุมชนในพื้นที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัด สุราษฎร์ธานี จำนวน 1 คน และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน เป็นผู้ทำประมงพื้นบ้านในพื้นที่ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 1 คน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3