การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

83 5. ท่านคิดว่า การจัดการพื้นที่ทรัพยากรเกี่ยวกับการทำประมงพื้นบ้านทางทะเล ควรมีรูปแบบและวิธีจัดการอย่างไรให้เกิดความยั่งยืน ส่วนที่ 3 ปัญหาอื่นและข้อเสนอแนะของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ ต่อการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลให้เกิดการอนุรักษ์ใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน (2) การระดมความคิดเห็นด้วยการสนทนากลุ่มเจาะจง (Focus group) เป็นการรวบรวม ข้อมูลด้วยการดำเนินการจัดประชุมสัมมนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ผู้วิจัยใช้วิธีเจาะจงเลือก (Population selection) มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้าน ทางทะเลอย่างยั่งยืน โดยนำสิ่งที่ค้นพบจากพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และจังหวัด ปัตตานี มาระดมความคิดเห็นด้วยการสนทนากลุ่มเจาะจงในพื้นที่จังหวัดสงขลา ประชากรในการ สนทนาเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้เกี่ยวข้องโดยตรง (Stakeholders) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการประมง พื้นบ้านในพื้นที่จังหวัดสงขลา เพื่อจัดทำร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ ดังนี้ ประชากรสนทนา ประกอบด้วยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ หน่วยงาน ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้ทำประมงพื้นบ้าน รวมจำนวน 10 คน ได้แก่ กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ เป็นผู้แทนกรมประมง จากสำนักงานประมงจังหวัดสงขลา จำนวน 1 คน ผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จากสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 (สงขลา) จำนวน 1 คน กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา อำเภอ ท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่น องค์การบริ หาร ส่วนตำบลท่าศาลา เกี่ยวกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน เมื่อปี พ.ศ. 2552 จำนวน 1 คน และนิติกรองค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัด สงขลา ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านกฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 1 คน กลุ่มผู้นำชุมชนท้องถิ่น เป็นตัวแทนชาวประมงพื้นบ้านจากกลุ่มอนุรักษ์ชายฝั่งและฟาร์มทะเลชุมชน บ้านใหม่ (ท่าเสา) หมู่ที่ 1 ตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ซึ่งมีการบริหารจัดการกลุ่ม ที่มีประสิทธิภาพ สามารถปกป้องและฟื้นฟูทรัพยากรประมงให้มีความอุดมสมบูรณ์ จนได้รับรางวัล ชนะเลิศการประกวดชุมชนประมงดีเด่น ประจำปี 2563 จำนวน 1 คน และตัวแทนชาวประมง พื้นบ้านจากกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำทางทะเลและชายฝั่งบ้านพังสาย อำเภอสทิงพระ จังหวัด สงขลา ซึ่งมีการบริหารจัดการกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ สามารถปกป้องและฟื้นฟูทรัพยากรประมง ให้มีความอุดมสมบูรณ์ จำนวน 1 คน และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน เป็นตัวแทน ชาวประมงพื้นบ้านจากกลุ่มอนุรักษ์ชายฝั่งและฟาร์มทะเลชุมชนบ้านใหม่ (ท่าเสา) หมู่ที่ 1 ตำบล สทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ซึ่งมีการบริหารจัดการกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ สามารถปกป้อง และฟื้นฟูทรัพยากรประมงให้มีความอุดมสมบูรณ์ จนได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดชุมชนประมง ดีเด่น ประจำปี 2563 จำนวน 2 คน และ ตัวแทนชาวประมงพื้นบ้านจากกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากร สัตว์น้ำทางทะเลและชายฝั่งบ้านพังสาย อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ซึ่งมีการบริหารจัดการกลุ่ม ที่มีประสิทธิภาพ สามารถปกป้องและฟื้นฟูทรัพยากรประมงให้มีความอุดมสมบูรณ์ จำนวน 2 คน คำถามการระดมความคิดเห็นด้วยการสนทนากลุ่มเจาะจง (Focus group) 1. หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ควรมีบทบาทหน้าที่ต่อการจัดการทรัพยากรประมง พื้นบ้านทางทะเลในปัจจุบันและอนาคต ควรจัดให้มีรูปแบบอย่างไร

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3