การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

84 2. อาชีพประมงพื้นบ้านควรจัดการอย่างไรให้มีความยั่งยืน 3. การป้องกันการแย่งชิงพื้นที่ทำการประมง ควรมีรูปแบบการจัดการอย่างไร 4. ข้อเสนอแนะ หรือข้อแนะนำอื่น ๆ ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญเห็นว่าเป็นประโยชน์ ต่อการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลให้เกิดการอนุรักษ์ใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน 2) ขอบเขตด้านพื้นที่ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใน เขตการทำประมงพื้นบ้านในพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และจังหวัดปัตตานี เนื่องจากบริบทของพื้นที่เหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของระบบนิเวศธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความแตกต่าง หลากหลายทางด้านสังคมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ศาสนา และวัฒนธรรมของผู้คนที่ผสมผสานกัน เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์เพื่อการหาแนวทางร่วมกันของชุมชนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ ลดความขัดแย้ง นำไปสู่การจัดการทรัพยากรร่วมกันของคนในพื้นที่ให้เกิดความเป็นธรรมและอนุรักษ์ การทำประมงพื้นบ้านทางทะเลให้ยั่งยืน 3.3 เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลเพื่อเป็น แนวทางในการสร้างแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured interview) 1) สร้างแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured interview) 2) นำแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่สร้างขึ้นให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ตรวจสอบความตรงของ เนื้อหา (Content of validity) ของข้อซักถามแต่ละข้อเพื่อหาค่าความสอดคล้องของสิ่งที่ต้องการวัด โดยการหาค่า IOC (Index of congruence) จากผู้เชี่ยวชาญโดยใช้หลักเกณฑ์การประเมิน ดังนี้ +1 หมายถึง แน่ใจว่าสิ่งที่ประเมินสอดคล้องกับเนื้อหา 0 หมายถึง ไม่แน่ใจสิ่งที่ประเมินสอดคล้องกับเนื้อหา -1 หมายถึง แน่ใจว่าสิ่งที่ประเมินไม่สอดคล้องกับเนื้อหา 3) ปรับปรุงแก้ไขแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อได้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่มีความเชื่อมั่นแล้ว นำแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ไปเก็บข้อมูลเพื่อดำเนินการวิจัย โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured interview) ไปทำการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายด้วยตนเอง และเก็บรวบรวมข้อมูล ตามประเด็นข้อคำถามที่กำหนดไว้ในแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างต่อไป 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมตามระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ที่เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) การระดมความคิดเห็นด้วยการสนทนากลุ่มเจาะจง (Focus group) นำมาเป็นข้อมูลร่วมกันกับ แนวคิด ทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลเพื่อนำมา วิเคราะห์และจัดทำเป็นร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ เรื่อง การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้าน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3