การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

85 ทางทะเลอย่างยั่งยืน พ.ศ. .... เพื่อผู้วิจัยได้นำเอาร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบดังกล่าวไปรับฟัง ความคิดเห็น (Hearing) อีกครั้งเพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์ที่สุด 3.5 การรับฟังความคิดเห็น การรับฟังความคิดเห็นเป็นการจัดประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น ต่อข้อค้นพบจากการ จัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ (Model ordinance/Municipal law) ด้านการจัดการทรัพยากร ประมงพื้นบ้านทางทะเล โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นประกอบด้วย ตัวแทน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการ ภาคประชาสังคม ผู้นำชุมชนท้องถิ่น และ ผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้าน ทางทะเล รวมทั้งสิ้น 11 คน ได้ร่วมกันวิพากษ์ร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ เรื่อง การจัดการ ทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลอย่างยั่งยืน พ.ศ. .... ความคิดเห็นที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็น (Hearing) นี้ ผู้วิจัยได้นำไปวิเคราะห์เพิ่มเติมเพื่อให้ได้ร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบมีความสมบูรณ์ มากที่สุด ที่จะนำไปบังคับใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ชุมชนท้องถิ่น และผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านทางทะเล ร่วมกัน ดังนั้น ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการตอบประเด็นสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) การระดมความคิดเห็นด้วยการสนทนากลุ่มเจาะจง (Focus group) การรับฟังความคิดเห็น (Hearing) และข้อมูลเอกสารต่าง ๆ จะถูกนำมาวิเคราะห์และประมวลผลออกมาในรูปเชิงพรรณนา โดยชี้ให้เห็นถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล ซึ่งเป็นการศึกษา ปัญหาการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลที่ขาดการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การกำหนดรูปแบบ นวัตกรรมการจัดการทรัพยากรประมง พื้นบ้านทางทะเลให้เกิดการอนุรักษ์ใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน ตามโจทย์วิจัยต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3