การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทที่ 4 ผลการวิจัย การศึกษาและวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการค้นหาคำตอบอันเป็นเป้าหมายหลัก คือ การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล ซึ่งเป็นการศึกษาปัญหาการจัดการทรัพยากรประมง พื้นบ้านทางทะเลที่ขาดการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การกำหนดรูปแบบการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลให้เกิดการอนุรักษ์ ใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน ผู้วิจัยได้กำหนดประเด็นในการวิเคราะห์ไว้ 3 ประเด็น ดังนี้ 4.1 สภาวการณ์และรูปแบบในการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลชายฝั่ง ในปัจจุบัน 4.2 กฎหมายและอำนาจหน้าที่ของรัฐในการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล ในต่างประเทศ และประเทศไทย 4.3 นวัตกรรมกฎหมายและข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบในการจัดการทรัพยากรประมง พื้นบ้านทางทะเล 4.1 สภาวการณ์และรูปแบบในการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลชายฝั่งใน ปัจจุบัน สถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งแย่งชิงพื้นที่ทำการประมงทางทะเลที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ ในประเทศไทย จากการ เข้าไปใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมง รัฐเปิดโอกาสให้บุคคล เข้าครอบครองพื้นที่เพื่อใช้สอยประโยชน์ มีกลุ่มนายทุนทั้งในและนอกพื้นที่เข้ามาจับจองพื้นที่ เกิดการซื้อขายสิทธิในพื้นที่สาธารณประโยชน์ทางทะเล กลายเป็นสิทธิของปัจเจกบุคคล ที่ชาวประมง พื้นบ้านโดยทั่วไปไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงทางทะเลได้ ส่งผลให้วิถีชีวิตของ ชาวประมงพื้นบ้านเริ่มเปลี่ยนไปจากการจับสัตว์น้ำมาเพื่อเลี้ยงครอบครัวและขายเพื่อเลี้ยงชีพ กลายเป็นมุ่งแข่งขันกันจับสัตว์น้ำเพื่อการค้ามากขึ้น ปัญหาความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากรของผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน สาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากการจัดการและบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้ารัฐที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ มีกลุ่มนายทุนทั้งในและนอกพื้นที่เข้ามาจับจองพื้นที่ และซื้อขายสิทธิในพื้นที่สาธารณะประโยชน์ ของรัฐ เป็นเหตุให้ชาวประมงพื้นบ้านประท้วงโดยนำเรือประมงหลายสิบลำมารวมตัวกันปิดกั้น ปากแม่น้ำเพื่อกดดันหน่วยงานภาครัฐให้เร่งจัดการทรัพยากรทางทะเลทวงคืนพื้นที่สาธารณประโยชน์ ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นธรรมและเสมอภาคกัน (สยามรัฐ (ออนไลน์), 2563) ซึ่งตรงกับการให้ข้อมูลของกลุ่มผู้นำชุมชนและผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัด สุราษฎร์ธานีว่าปัญหาในพื้นที่บริเวณอ่าวบ้านดอน เกิดจากการลักลอบปักแนวเขตสร้างขนำ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประเภทหอยแครง นอกเขตพื้นที่ในการได้รับอนุญาตให้เพาะเลี้ยง และมีความ พยายามของหน่วยงานภาครัฐในการเข้าไปแก้ไขปัญหา โดยบูรณาการกำลังจากภาคส่วนต่าง ๆ ผ่านศูนย์รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ได้เข้าไปแก้ไขปัญหาก็ได้เพียงระดับหนึ่ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3