การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
87 เท่านั้นเมื่อมีการถอนกำลังเจ้าหน้าที่ออกไปแล้ว พบว่า ปัญหาความขัดแย้งคงเหมือนเดิม สะท้อน ให้เห็นถึงประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาซึ่งเคยได้รับการแก้ไข ไม่มีผลอย่างใดเลย เพราะมีการแย่งชิงพื้นที่สาธารณะประโยชน์ของรัฐอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด จากกลุ่มคนบางกลุ่มพยายามทำให้พื้นที่สาธารณประโย ชน์ในทะเลกลายเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล เป็นสิทธิของปัจเจกบุคคล ทำการปิดกั้น สร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ไม่ให้ชาวประมงพื้นบ้านโดยทั่วไป เข้าไปใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมง จนเป็นปัญหาบานปลายกลายเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ในหลายพื้นที่ดังที่เป็นข่าวต่อเนื่องตลอดมา เมื่อความขัดแย้งเกิดจากผลประโยชน์เป็นเหตุแห่งการแย่งชิง เป็นความขัดแย้งด้านโครงสร้าง การใช้อำนาจ การกระจายอำนาจ รวมถึง กฎ ระเบียบ บทบาทและพื้นที่ภูมิศาสตร์ เช่น สภาพ ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลมีการเคลื่อนไหวทั้งบนผิวน้ำและใต้น้ำประกอบกับวิถีการทำประมง ที่เปลี่ยนแปลงไปและคาดการณ์ได้ยาก ซึ่งความขัดแย้งในการเข้าถึงทรัพยากรประมงเกี่ยวกับการ หาประโยชน์จากสัตว์น้ำ จะแตกต่างกับการเข้าถึงทรัพยากรอื่นเพราะมีความเกี่ยวข้องกับวิถีดำรงชีวิต อยู่ของชาวประมงชายฝั่งในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และเชื่อมโยงกับอำนาจรัฐ แนวคิดการจัดการ ความขัดแย้งเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้เกิดความสงบอยู่ร่วมกันอย่างสันติ หากใช้วิธีประนีประนอมหรือ แบ่งคนละครึ่งเป็นวิธีการประสานความร่วมมือ ทำให้ผู้ตัดสินหรือผู้พูดรู้สึกสบายใจว่ายุติธรรมที่สุด แล้ว หรือใช้วิธีการร่วมมือกันที่คู่เจรจาพยายามร่วมกันที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ ความต้องการ เป็นการประสานผลประโยชน์ออกมาที่ทั้งสองฝ่ายหรือหลาย ๆ ฝ่ายพึงพอใจ หรือใช้วิธีการไกล่เกลี่ย โดยใช้วิธีการร่วมมือเช่นนี้ก็จะอาศัยวิธีการเจรจาโดยยึดจุดสนใจหรือประสานผลประโยชน์ ของทุกฝ่าย (Interest-based negotiation) ผลออกมาเป็น ชนะ-ชนะ (Win-win) จากปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการลักลอบใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย ที่ทำลายล้าง ให้สัตว์น้ำในทะเลลดปริมาณลง อันเนื่องมาจากเครื่องมือประมงถูกพัฒนาให้ทันสมัยและจับสัตว์น้ำ ได้ปริมาณมาก เช่น อวนรุน อวนลาก อวนลากคู่ เรือปั่นไฟ เหล่านี้ เป็นเครื่องมือประมงแบบ ทำลายล้างเข้ามาทำประมงในเขตทะเลชายฝั่ง และชาวประมงในพื้นที่ จึงช่วยกันผลักดันให้ออกไป ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง หากนำเครื่องมือประมงเหล่านี้มาใช้จะส่งผลให้สัตว์น้ำขนาดเล็กที่ ยังไม่โตเต็มวัยถูกจับติดไปด้วย จากผลการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายของ (นฤดม ทิมประเสริฐ, 2554) พบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ สิทธิชุมชน ในการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นทางทะเล ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดพื้นที่ความขัดแย้ง เมื่อปี พ.ศ. 2530 ลักลอบทำประมงโดยใช้เครื่องมือ ผิดกฎหมายก่อให้เกิดความขัดแย้งกับพื้นที่ใกล้เคียง แม้จะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาจัดการ แต่ก็ไม่เป็นผล เกิดการชุมนุมประท้วงหน่วยงานของรัฐ ต่อมาชุมชนได้ร่วมกับองค์การบริหาร ส่วนตำบลท่าศาลาและองค์กรอื่นเห็นว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาจากผลประโยชน์ จึงตกลงร่วมกัน จัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นทางทะเลได้สำเร็จและแก้ปัญหาได้ในที่สุด โดยนำประชาชนเข้ามีส่วนร่วม วางแผนและดำเนินการ จัดสรรผลประ โยชน์ และการติดตามประเมินผล ปัจจัยที่ทำให้ เกิดความสำเร็จในการจัดทำข้อบัญญัติ พบว่า การให้ชุมชนท้องถิ่นผู้มีส่วนได้เสียได้ออกรูปแบบและ วิธีจัดการทรัพยากรร่วมกัน กำหนดเป็นกฎหรือกติกา เพื่อวางรากฐานให้สิทธิทุกคนสามารถเข้าถึง ทรัพยากรสัตว์น้ำได้อย่างเท่าเทียมกัน ภายใต้วิธีคิดของชาวบ้านที่เห็นว่าทุกคนต้องเคารพกฎกติกา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3