การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
3 โดยมีนายสมชาย สุมนัสขจรกุล รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ฝ่ายวิชาการ เป็นประธานฯ พร้อมด้วย ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมทางไกลผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 20 – 23 เมษายน 2564 รองอธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผยว่าตามที่ประเทศไทยได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ ในการแก้ไขปัญหามลพิษทางทะ เล ในอนุภูมิภ าคอ่าว ไทย ร่วมกับประ เทศกัมพูชาและ ป ระ เท ศ เวีย ดน าม ภ าย ใต้ก า รสนับ สนุน ขอ ง GFE/ IMO Regional Program on Building Partnerships in Environment Management for the Seas of East Asia ( PEMSEA) ในการให้ความร่วมมือระหว่างกันกรณีเกิดเหตุน้ำมันรั่วไหลขนาดใหญ่ในพื้ นที่อ่าวไทยซึ่งได้ มีพิธีลงนามในแถลงการณ์ร่วมระหว่างประเทศ กัมพูชา ไทย และเวียดนาม ในด้านการป้องกันและ ขจัดมลพิษทางทะเลเนื่องจากน้ำมัน เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2549 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยสมาชิกแต่ละประเทศจะสับเปลี่ยนกันเพื่อเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมอย่างน้อย 1 ครั้ง และในปี พ.ศ.2564 นี้ได้ถึงวาระที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม ครั้งที่ 14 ประจำปี ค.ศ.2021 แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 จึงได้ทำการจัดประชุม ร่วมกับผู้แทนหลักของประเทศสมาชิกของประเทศไทย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และ ราชอาณาจักรกัมพูชา ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อลดการเดินทางและหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่ม สำหรับการ ประชุมในครั้งนี้ จะประกอบไปด้วยวาระที่สำคัญได้แก่ ระบบชดเชยความเสียหายจากมลพิษน้ำมัน การเรียกร้องค่าทำความสะอาดการขจัดมลพิษและมาตรการป้องกัน การเรียกร้องความเสียหายต่อ ทรัพย์สินและความสูญเสียทางเศรษฐกิจ โดยประเทศสมาชิกที่เข้าร่วม พร้อมด้วยผู้แทนประเทศไทย จะได้รายงานถึงสถานการณ์การดำเนินงานของประเทศสมาชิกในรอบปีที่ผ่านมา พิจารณาร่างคู่มือ การใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมันในอนุภูมิภาค อ่าวไทย รวมถึงพิจารณาแผนการดำเนินงานในอนาคต ร่วมกันทั้งนี้ ผลการประชุมฯ สรุปได้ดังนี้ 1) ทั้งสามประเทศมีกรอบกฎหมายสำหรับการเตรียมการป้องกันและขจัดมลพิษน้ำมันใน ประเทศตนเองได้เหมาะสมตามระดับความเสี่ยงและสถิติการเกิดเหตุน้ำมันรั่วไหล 2) ทั้งสามประเทศให้คำมั่นว่าจะปรับปรุงและพัฒนาแผนการปฏิบัติงานขจัดคราบน้ำมันของ ประเทศตนเองเพื่อให้มั่นใจยิ่งขึ้นว่าจะสามารถปกป้องรักษาสภาพแวดล้อมของอ่าวไทยให้มีความ ยั่งยืนต่อไป 3) ทั้งสามประเทศให้คำมั่นว่าจะร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการขจัดมลพิษน้ำมัน (แผนปฏิบัติการร่วม) สำหรับกรณีเกิดเหตุการณ์น้ำมันหกรั่วไหลข้ามพรมแดน ในพื้นที่อ่าวไทย 4) องค์กรความร่วมมือภ าย ใต้ IMO และพัน ธมิตร ได้แก่ PEMSEA, ITOPF, IOPC และ IG P&I Club ให้การรับรองว่าจะสนับสนุนกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคอ่าวไทย (ไทย กัมพูชา เวียดนาม) ต่อไป ทั้งด้านบุคลากร การฝึกอบรมให้ความรู้ และเครื่องมือป้องกันและขจัดมลพิษน้ำมัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3