การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
6 2) ขอบเขตด้านพื้นที่ พื้นที่ในการรวมรวบข้อมูลกำหนดไว้ คือ ในเขตพื้นจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีทะเลล้อมรอบและมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวอยู่เป็นจำนวนมากและเป็นเมือง ท่องเที่ยวที่อยู่ในระดับต้นๆของประเทศ 3) ขอบเขตด้านผู้ให้ข้อมูลหลัก ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยครั้งนี้ เป็นการเก็บข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่างแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ กลุ่มเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น กลุ่มภาคเอกชนและสถานประกอบการและกลุ่มอาสาสมัครและจิตอาสา รวมจำนวน 17 คน 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.6.1 ได้แนวทางการจัดการขยะในทะเลป้องกันและควบคุมมิให้เกิดมลพิษมาจากขยะใน ทะเลที่พัดกลับเข้ามาสู่ชายฝั่งของประเทศไทย และกำหนดความรับผิดของผู้ก่อมลพิษ 1.6.2 ได้มาตรการบังคับใช้กฎหมายกับการจัดการขยะในทะเลในอาณาเขตทางทะเลไทย 1.6.3 ได้ปรับปรุงและแก้ไขมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะทะเลในอาณาเขต ทะเลไทย และผลการวิจัยนี้นำไปประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานรัฐ กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ สังกัดกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมเจ้าท่า สังกัดกระทรวงคมนาคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มอาสาสมัครและจิตอาสา 1.7 นิยามศัพท์เฉพาะ “ขยะในทะเล” หมายความว่า ขยะในทะเล หมายความว่า สิ่งของ ผลิตภัณฑ์จากฝีมือมนุษย์ ที่ตกลงไปอยู่ในทะเล หรือของเสียที่ผ่านกระบวนการผลิตใดๆ ทุกประเภท แล้วไหลลงสู่ทะเล โดยการจงใจทิ้งหรือการปล่อยปละทิ้งขว้างโดยไม่ตั้งใจ สู่สภาพแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงเครื่องมือประมงและวัสดุที่เกิดจากกิจกรรมขนส่งทางเรือ “การจัดการ” หมายความว่า การสั่งงาน ควบคุมงาน ดำเนินงาน “ทะเลอาณาเขต” หมายความว่า อาณาเขตทางทะเลของรัฐชายฝั่ง ที่วัดความกว้างออกจาก เส้นฐาน (Baselines) ตามที่รัฐชายฝั่งได้กำหนดขึ้น ไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล หรือประมาณ 22 กิโลเมตร โดยรัฐชายฝั่ง มีอำนาจอธิปไตยเหนือทะเลอาณาเขต ซึ่งหมายความรวมถึงอำนาจอธิปไตย ในห้วงอากาศ เหนือทะเลอาณาเขต และอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นดินท้องทะเล และดินใต้ผิวดิน ของทะเลอาณาเขตด้วย แต่ให้สิทธิในการผ่านโดยสุจริตของเรือต่างชาติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3