การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

9 หรือการเจตนาทิ้งโดนมนุษย์บนชายหาดและชายฝั่ง ขยะในทะเลอาจจะพบใกล้แห่งที่เกิดแต่เกือบ ทั้งหมดสามารถถูกพัดพาไปได้ในระยะทางไกลๆ ด้วยกระแสน้ำในมหาสมุทรและกระแสลม ขยะในทะเลถูกพบในพื้นที่ทุกทะเลทั่วโลก ไม่เพียงแต่บริเวณชายฝั่งแต่ยังสามารถพบได้ใน สถานที่ห่างไกลจากแหล่งกำเนิดอย่างชัดเจน (เช่น บนเกาะกลางมหาสมุทรและบริเวณ ขั้วโลก สามารถพบขยะในทะเลลอยอยู่บริเวณผิวน้ำ กลางมวลน้ำ และจมลงสู่พื้นท้องทะเลที่ระดับความลึก แตกต่างกัน พบว่าต้นกำเนิดขยะในทะเลมาจากแหล่งสำคัญ 2 แหล่ง คือต้นทางของขยะในทะเลที่อยู่ บนแผ่นดินและต้นทางของขยะในทะเลที่อยู่ในมหาสมุทร 1. ต้นทางของขยะในทะเลที่อยู่บนแผ่นดิน ได้แก่ หลุมฝังกลบขยะชุมชนระบบการเก็บ รวบรวมและขนย้ายขยะ (ทางบกและทางน้ำ) น้ำที่เอ่อล้นไหลบ่าในช่วงฝนตกหนักสามารถพัดพาขยะ ลงสู่ทะเลภาคอุตสาหกรรมและการผลิตการจัดการขยะมูลฝอยที่ไม่เหมาะสม และปรากฏการณ์ ธรรมชาติ 2 . ต้นทางของขยะในทะเลที่อยู่ในมหาสมุทร อาจมาจากทั้งในทะเลและชายฝั่ง เช่นการขนส่งทางเรือ เรือสำราญและเรือท่องเที่ยว การประมงทะเลและชายฝั่ง แท่งขุดเจาะน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ การท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่ง กิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (คลังความรู้ทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง, 2565) ซึ่งเห็นได้ว่าการเกิดขยะในทะเลส่วนใหญ่นั้น จะเกิดจากต้นทางของขยะที่อยู่บนแผ่นดิน ไหลลงสู่ทะเลโดยตรง เกิดเป็นปัญหาขยะทะเลในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากขยะที่ไม่ได้ รับการจัดการอย่างถูกวิธีและไหลลงสู่ทะเล ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมในทะเลของ ประเทศไทยและขยายวงกว้างในอาณาเขตทะเล 2.1.3 อาณาเขตทางทะเล (Maritime Zone) ประเทศไทยมีอาณาเขตทางทะเล (Maritime Zone) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 เท่ากับ 323,488.32 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 60 ของอาณาเขตทางบกที่มีเนื้อที่อยู่ประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตรโดยมีความยาวชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน รวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือรวมความยาวชายฝั่งทะเล ในประเทศไทยทั้งสิ้น 3,148.23 กิโลเมตร ครอบคลุม 23 จังหวัด คนไทยสามารถใช้ประโยชน์ จากทะเลไม่เฉพาะแต่ในเขตทางทะเลของประเทศเราเองเท่านั้น หากยังสามารถใช้ทะเลไปถึงนอกเขต ท างท ะ เล ขอ งป ระ เท ศด้ วย เพื่ อ ให้ ก า ร ใช้ป ระ โยช น์ จ ากท ะ เล เป็น ม าต รฐ าน เดี ย ว กัน อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 จึงได้กำหนดเขตน่านน้ำทางทะเลออกเป็น 6 เขต ได้แก่ (คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2556) 1. น่านน้ำภายใน (internal waters) 2. ทะเลอาณาเขต (Territorial sea)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3