การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

10 3. เขตต่อเนื่อง (Contiguous zone) 4. เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone - EEZ) 5. ไหล่ทวีป (Continental shelf) 6. ทะเลหลวง (High seas) ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาเฉพาะทะเลอาณาเขตเท่านั้น ซึ่งมีพื้นที่ไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล หรือประมาณ 22 กิโลเมตร โดยวัดจากเส้นฐาน (baselines) แบ่งตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ได้กำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขต 2.1.4 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเป็นปัญหาที่มีความหลากหลายและส่งผลกระทบอย่างมาก ดังนั้นการจัดการสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ ต้องพิจารณาหลายอย่างประกอบกัน เพื่อให้เกิด การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นระบบ อันจะนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติเป็นฐาน โดยเน้นในเรื่องที่ว่าทรัพยากรธรรมชาติเป็นของส่วนรวมของคนทุกคน การจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นการผสมผสานแนวทางในการดําเนินการหลากหลายสาขาร่วมกัน รวมทั้งควรมีการส่งเสริม ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกระดับ และใช้มาตรการทางสังคมใหม่ๆ ควบคู่ไปด้วย นํ า เค รื่อ งมือท าง เศรษฐศ าสตร์ เข้ ามา ใช้ ให้ เห มาะสม เพื่อ ให้ มีก ารจัด การสิ่ งแวดล้อม อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นการนําสิ่งแวดล้อมทุกชนิดมาใช้โดยการช่วยเหลือของ ธรรมชาติหรือใช้เทคโนโลยีในการทําให้สิ่งแวดล้อมทั้งระหว่างการใช้และภายหลังการใช้แล้ว ให้ฟื้นคืนสภาพเหมือนหรือใกล้กับสภาพเดิมเพื่อให้เห็นรูปธรรม การให้การศึกษาทางสิ่งแวดล้อมและการประชาสัมพันธ์ สอดคล้องกับ (การจัดการ สิ่งแวดล้อม, 2542) กล่าวถึงสิ่งแวดล้อมว่าเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกนและกันอย่างมีระบบ ประกอบด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่ มนุษย์สร้างขึ้น ประกอบด้วยสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมและสามารถให้ประโยชน์แก่มนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม หลักในการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน (มนัส สุวรรณ, 2549) ได้กล่าวถึง มีหลักการที่สำคัญ 2 หลักการที่สามารถ นำไปใช้ให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติเพื่อให้แต่ละสังคมมีสภาพ เป็นสังคมที่ยั่งยืนได้ดังนี้คือ วิธีที่ 1 หลักการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ซึ่งบางครั้งเรียกว่า วิธีการป้องกันโดยจำเป็นต้องเน้นที่ การจัดการมนุษย์ในฐานะที่เป็นตัวการสำคัญที่สุดที่ก่อให้เกิดวิกฤตซึ่งหลักการนี้ค่ อนข้าง มีประสิทธิภาพในการจัดการให้บังเกิดผลได้มากกว่า วิธีที่ 2 หลักการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุซึ่งในบางครั้งเรียกว่า วิธีการรักษาโดยจะมุ่งเน้นการ จัดการสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญวิธีการนี้นิยมกระทำกันโดยการรณรงค์ให้ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่าย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3