การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

11 เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมแม้ไม่สามารถกระทำได้โดยตรงแต่ปลูกฝังให้เกิดเป็นกิจ นิสัยในชีวิตประจำวัน จ ากที่ห น่ วย งาน ต่ า งๆ ร วม ถึ งนั กวิ ช าก ารห ล ายท่ าน ได้ ให้ ค ว ามห ม าย ข้ างต้ น สรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อม หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่าง ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่รอบๆ ของตัวเรามีทั้งสิ่งที่มี ชีวิตและไม่มีชีวิตและมีความสัมพันธ์กับเราแบ่งได้ 2 ชนิด คือ สิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งการจัดการที่ดี จะส่งผลให้ทรัพยากรยังคงถูกรักษาไว้ ไม่ถูก ทำลาย และเป็นการแก้ไขปัญหา ซึ่งอาจมีแนวทางการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ และสร้างจิตสำนึกให้ ประชาชน เกิดความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะในทะเล 2.1.5 หลักการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล ห ลั ก ก า ร คุ้ ม ค รอ งแ ล ะ รั กษ าสิ่ งแ ว ด ล้ อ ม ท า งท ะ เล (จุ มพ ต ส า ย สุน ท ร , 2550) กล่ าว ถึ งภ า ว ะม ล พิ ษ จ าก แห ล่ ง ต่ า งๆ ร ว ม ทั้ งภ าว ะม ล พิษ จ าก แห ล่ งบ น บ ก ด้ ว ยนั้ น พัฒนาจากแนวความคิดหลักในการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อมสองแนวความคิด คือ แนวความคิด ที่ว่ามนุษย์เป็นศูนย์กลางของสิ่งแวดล้อม (anthropocentric concept) และแนวความคิดที่ว่ามนุษย์ เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม (ecocentric concept) ส่วนแนวความคิดที่ว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมนั้น มนุษย์ไม่ได้มีสถานะพิเศษ แตกต่างไปจากพืช สัตว์ และสิ่งอื่นๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นสิ่งแวดล้อมเลย ดังนั้น มนุษย์จึงไม่มีสิทธิ พิเศษหรืออำนาจเด็ดขาดใด ๆ ที่จะกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อประโยชน์ของมนุษย์เพียงฝ่ายเดียว มนุษย์ไม่มีอำนาจที่จะกำหนดว่าสิ่งแวดล้อมใดควรจะคงอยู่หรือถูกทำลายตามอำเภอใจ ของมนุษย์และมนุษย์ ไม่มีสิทธิที่จะทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อสนอ งป ระโยชน์ของตน เอ ง เพียงฝ่ายเดียว ตรงกันข้าม มนุษย์กลับต้องมีหน้าที่ที่จะต้องคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้ อมไว้ ตลอดเวลาในฐานะที่มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ก็เพื่อให้สิ่งแวดล้อมยังคงอยู่ต่อไป อย่างยิ่งเพื่อประโยชน์ของสิ่งแวดล้อมและเพื่อประโยชน์ของมนุษย์เองในอนาคต สรุปว่าแนวความคิดดังกล่าวที่ได้นำเสนอมาข้างต้นเป็นการสนับสนุนการวิจัยในครั้งนี้ โดยเฉพาะแนวความคิดที่ว่า “มนุษย์เป็นศูนย์กลางของสิ่งแวดล้อมนั้น” ได้ก่อให้เกิดหลักการ ในการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล หากมนุษย์ทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไปจนทำให้ธรรมชาติขาดสมดุลก็จะทำให้มนุษย์ได้รับ ความเดือดร้อน เนื่องจากความเสียหายและภัยพิบัติต่างๆย่อมตามมาและความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่สามารถคาดเดาถึงความรุนแรงได้ 2.1.6 อำนาจอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยของรัฐเหนือทรัพยากรธรรมชาติ อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) และสิทธิอธิปไตย (Sovereign rights) ของรัฐ เหนือ ทรัพยากรธรรมชาติหลักการสำคัญประการหนึ่งที่จะนำไปสู่การคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อมทาง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3