การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

12 ทะเลจาก ภาวะมลพิษจากแหล่งบนบกก็คือ หลักการใช้อำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของรัฐ” เหนือทรัพยากรธรรมชาติของตน หลักการใช้อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) ของรัฐเหนือทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในดินแดน (territory) ของรัฐนั้นเป็นไปตามจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ยอมรับว่า รัฐทุกรัฐย่อมมีอำนาจ อธิปไตยในการออกกฎหมายและใช้บังคับกฎหมายเหนือดินแดนของตน และอำนาจอธิปไตย รวมถึงอำนาจของรัฐในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในดินแดนของรัฐ นั้นๆ ด้วย อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือทรัพยากรธรรมชาตินี้ได้รับการยืนยันชัดเจนที่สุด นอกจากนี้หลักอำนาจอธิปไตยเหนือทรัพยากรธรรมชาติยังปรากฏอยู่ในหลักการ 22 ของกฎบัตรโลกเพื่อธรรมชาติ ค.ศ. 1982 ที่กำหนดว่า เมื่อคำนึงถึงอำนาจอธิปไตย (Sovereignty) ของรัฐเหนือทรัพยากรธรรมชาติของตน รัฐแต่ละรัฐจะต้องทำให้ข้อกำหนดในกฎบัตรนี้มีผลบังคับ โดยผ่านหน่วยงานที่มีอำนาจของตนและโดยร่วมมือกับรัฐอื่น ๆ เช่น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐนั้นต้องกระทำในลักษณะ ที่ยั่งยืนและไม่เป็นการทำลายบูรณภาพ (integrity) ของระบบนิเวศอื่นๆ หรือชนิดพันธุ์อื่นๆ ที่อยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้น ในส่วนของการใช้สิทธิอธิปไตยของรัฐเหนือทรัพยากรธรรมชาติตามหลักการ 21 ของปฏิญญาสตอกโฮล์มฯ ดังกล่าวข้างต้นนั้น หลักการ 5 ของปฏิญญาสตอกโฮล์มฯ ยังกำหนด เพิ่ม เติมอีกว่า ท รัพยากรที่ ไม่สามารถฟื้นฟู ได้อีก ( non-renewable resources) ของโลก เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติและแร่ธาตุต่างๆ ต้องใช้ในลักษณะเช่นที่จะต้องป้องกันมิให้เป็น อันตรายต่อการใช้ทรัพยากรดังกล่าวให้หมดไปในอนาคตและในลักษณะเช่นที่จะประกันว่าประโยชน์ ที่ได้จาก การใช้ทรัพยากรเช่นว่านั้นได้รับการแบ่งปันกันโดยมวลมนุษยชาติ ในส่วนของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการใช้สิทธิอธิปไตยเหนือทรัพยากร ธรรมชาติ ตามหลักการ 21 ของปฏิญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ค.ศ. 1972 นั้น หลักการ 11 ของปฏิญญาสตอกโฮล์มฯ ดังกล่าวกำหนดว่า “นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐทั้งปวง ควรขยาย และไม่ควรให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อศักยภาพต่อการพัฒนาทั้งในปัจจุบันและอนาคต ของประเทศ กำลังพัฒนา อีกทั้งนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าวไม่ควรขัดขวางการมีสภาพความ เป็นอยู่ที่ดีขึ้น ของทุกคน และรัฐและองค์การระหว่างประเทศควรที่จะดำเนินขั้นต อน โดยมุ่งที่จะให้ บรรลุถึงความตกลงว่าด้วยการปฏิบัติให้เป็นไปตามผลทางด้านเศรษฐกิจระดับชาติและระดับ ระหว่างประเทศที่เป็นไปได้ อันเป็นผลมาจากการใช้บังคับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม 2.1.7 อำนาจหน้าที่ของรัฐในการรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล อำนาจหน้าที่ของรัฐในการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล สิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่กับ อ ำ น า จ อ ธิ ป ไต ย ( Sovereignty) แ ล ะ สิ ท ธิ อ ธิ ป ไต ย ( Sovereign rights) ข อ ง รั ฐ เห นื อ ทรัพยากรธรรมชาติของตนตามหลักการ 21 ของปฏิญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3