การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
13 ค.ศ. 1972 และหลักการ 2 ของปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ค.ศ.1992 ก็คือหน้าที่ ของรัฐในการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล จากภาวะมลพิษจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งจากแหล่งบนบกด้วย อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย ก ฎ ห ม า ย ท ะ เล ค .ศ . 1982 (The United Nations Convention on the Law of the Sea 1982:UNCLOS) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลว่าด้วยการคุ้มครองและรักษา สิ่งแวดล้อมทางทะเล นอกจากหลักการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในปฏิญญาสตอก โฮล์มว่าด้วย สิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ค.ศ. 1972 แล้ว หลักการ 4 ของปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและ การพัฒนา ค.ศ.1992 ยังกำหนดว่า “เพื่อให้บรรลุถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน (เขมจุฑา สุวรรณจินดา ,2558) การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกันกับกระบวนการพัฒนาและ ไม่สามารถจะแยกพิจารณาต่างหากจากกระบวนการพัฒนาได้ ทั้งนี้ ปฏิญญาริโอฯ ดังกล่าว กำหนดให้มนุษย์เป็นศูนย์กลางแห่งความห่วงใย ในการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมนุษย์ชอบที่จะมีชีวิตที่ดี และรุ่งเรืองอย่างสมานฉันท์กับธรรมชาติ สรุปได้ว่าหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่โดยตรงในการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องดำเนินการ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ การฟื้นฟู การส่งเสริม การพัฒนา และการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลใน ระดับพื้นที่ กำกับ ดูแล และตรวจสอบการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลให้เป็นไปตามกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง 2.2 แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติทั้งที่ใช้แล้ว หมดไป เกิดใหม่ทดแทนได้หรือมีปริมาณไม่หมดสิ้น อันให้ประโยชน์โดยตรงในรูปของปัจจัยการผลิต สินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ซึ่งได้แก่ น้ำ อากาศ แสงอาทิตย์ ดิน ไม้ ทุ่งหญ้า ความหลากหลายทางชีวภาพ และสินแร่ เป็นต้น และการให้ประโยชน์ทางอ้อม ในรูปของ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิต รวมทั้งการดําเนินวิถีชีวิตอย่างเป็นปกติ สุขของมนุษย์ซึ่งได้แก่ คุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ ปริมาณของเสียที่เหลือจากการผลิตและการ บริโภคที่จะไม่กระทบต่อคุณภาพชีวิต รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น และควรค่าแก่ความ ภาคภูมิใจไปจนถึงชนรุ่นต่อๆ ไป เช่น ศิลปกรรม โบราณสถาน เป็นต้น ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม อาจจําแนกออกได้เป็น 4 ประเภท คือ (1) ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป (2) ทรัพยากรที่ใช้แล้วเกิดทดแทนได้ (3) ทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น (4) คุณภาพของสิ่งแวดล้อม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3