การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

14 ที่ผ่านมาประเทศไทยใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อมุ่งเสริมสร้างทุนทางเศรษฐกิจ เป็นหลัก ทําให้มีการใช้ทรัพยากรโดยไม่คํานึงถึงข้อจํากัด การขยายตัวของภาคเศรษฐกิจได้เพิ่ม ปริมาณของเสียและมลพิษที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมจนเกินขีดความสามารถในการรองรับและฟื้นตัวของ ระบบธรรมชาติทําให้ระบบนิเวศเสื่อมโทรมเสียสมดุล ซึ่งถือได้วาาเป็นระบบความสัมพันธ์ที่ทําลาย ตนเอง เพราะทั้งทุนทรัพยากรธรรมชาติและทุนทางเศรษฐกิจต่ างถูกลดทอนลงในระยะยาว อีกทั้งรัฐยังต้องสิ้นเปลืองงบประมาณ เพื่อการฟื้นฟูหรือป้องกันความเสียหายจากภัยธรรมชาติหรือ การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การปนเปื้อนสารเคมีในดิน น้ำ การกําจัดขยะ และการบําบัดน้ำเสีย คุณภาพของสิ่งแวดล้อมที่ก่อมลพิษ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของครัวเรือนในรูปของสุขภาพ อน ามัยและค่ า ใช้ จ่ าย ในการรักษ าพยาบ าลอีกด้ วย เห็ น ได้ว่ าแน วคิด เกี่ยวกับทุนท าง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการนำมาศึกษาในการวิจัย ในครั้งนี้ เนื่องด้วยการเกิดมลพิษจากขยะในทะเลนั้น ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อระบบนิเวศ การบำบัดให้ระบบนิเวศนั้นกลับคืนดังเดิมทำได้ยากและใช้งบประมาณค่อนข้างสูง หน่วยงานของรัฐ ควรมีการส่งเสริม ให้ประชาชน เยาวชน ผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว นักวิชาการ นักอนุรักษ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานของรัฐ มีการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล การฟื้นฟู การบริหารจัดการทางทะเล ร่วมแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น ทำให้เกิดความ ร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน 2 . 3 แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน 2.3.1 การมีส่วนร่วมของประชาชน (Participation) การมีส่วนร่วมของประชาชน (เมตต์ เมตต์การุณ์จิต, 2553) ให้ความหมาย คือการเปิดโอกาส หรือการให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ในลักษณะของการร่วมรับรู้ ร่วมคิด ร่วมทำร่วมตัดสินใจร่วมติดตามผล การให้ความหมายคำจำกัด ความการมีส่วนร่วม การที่สมาชิกได้มีโอกาสร่วมคิดร่วมกัน (ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนใน 4 จังหวัดชายแดนลุ่ม น้ำโขง, 2551) ให้ความหมาย คือการตัดสินใจร่วมวางแผนร่วมปฏิบัติตามโครงการร่วมติดตาม ประเมินผลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่พึงประสงค์ ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมจะต้องมาจากความสมัครใจ พึงพอใจ และได้รับผลประโยชน์ที่เกิดจากชุมชนโดยส่วนรวมร่วมกัน การมีส่วนร่วมของประชาชนซึ่ง นักวิชาการ มีแนวคิดที่หลากหลายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้หลายด้าน การจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม (สุนีย์ มัลลิกะมาลย์, 2542) ได้แก่การดูแลการ จัดการ และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติว่าจะให้ทางภาครัฐดูแลเพียงฝ่ายเดียว ไม่ได้ เนื่องจากสิ่งแวดล้อมมีมากมายจำนวนข้าราชการไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นของทุกคนในประเทศ ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะดูแลปกป้องไม่ให้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3