การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

16 ต่อเป้าหมายและสิ่งที่เป็นสาเหตุที่อยู่ภายในความนึกคิดดังกล่าว เพื่อนำมากำหนดเป็นนโยบาย แนวทางปฏิบัติ กฎหมาย ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงต่อการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นตามหลักการ ที่เกี่ยวข้องข้างต้นและเกี่ยวข้องกับปัจจัยทั้งส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อม ความคิดเห็นจากบุคคลหลาย กลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย 2.3.3 แนวคิดทางนิติปรัชญา หลักแห่งอรรถประโยชน์นิยมของจอห์น สจ๊วต มิลล์ ถือว่าหลักการแรกทางศีลธรรมเป็น สิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น ศีลธรรมที่มีความสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือย่อมต้องมีหลักการแรก เพราะถ้าไม่มีหลักการแรก เราจะไม่มีเครื่องตัดสินขั้นสุดท้าย หากเราต้องเลือกว่า การกระทำใดๆ ดีห รือ ไม่ดี แล ะห ลักก ารแ รกท างศีล ธ ร รมต ามแน วคิดอร รถป ระ โยชน์นิ ยมขอ ง มิลล์ ก็คือ“หลักแห่งอรรถประโยชน์” (principle of utility) ซึ่งเป็นหลักการที่ถือว่า สิ่งใดก็ตามที่จะพิสูจน์ ได้ว่าเป็นสิ่งที่ดี จะพิสูจน์ได้ก็โดยแสดงให้เห็นว่าสิ่งนั้นนำไปสู่อีกสิ่งที่ถูกยอมรับว่าดี ดังที่ มิลล์ ได้กล่าวยกตัวอย่างให้เห็นภาพอย่างเป็นรูปธรรมว่า จะพิสูจน์ว่าการแพทย์เป็นสิ่งดีได้ก็ด้วยการแสดง ให้เห็นว่านำไปสู่สุขภาพที่สมบูรณ์ หรือจะพิสูจน์ว่าดนตรีเป็นสิ่งดีได้ก็ด้วยการแสดงให้เห็นว่านำไปสู่ ความสำราญรื่นรมย์ ดังนั้นสำหรับมิลล์ สิ่งอื่นที่ไม่ใช่หลักการแรกจึงไม่ได้เป็นสิ่งดีในฐานะเป้าหมาย แต่เป็นสิ่งดีในฐานะที่ เป็นวิถีทางที่จะนำไปสู่ เป้าหมาย ซึ่งเป้าหมายในที่นี้ก็คือความสุข (Mill, 1863: 134 - 135) ดังนั้นในแง่ของศีลธรรม แนวคิดอรรถประโยชน์นิยมของ มิลล์ จึงถือว่าการกระทำที่ดี ที่ถูกต้องก็คือการกระทำที่มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความสุข ส่วนการกระทำที่ไม่ดีไม่ถูกต้องก็คือการ กระทำที่มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความทุกข์ จะดีหรือถูกต้องและจะไม่ดีหรือผิดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับ แนวโน้มดังกล่าวว่าจะส่งผลมากหรือน้อยเพียงใด ทั้งนี้ ในทัศนะของ มิลล์ “ความสุข” (happiness) ห ม า ย ถึ ง “ ก า ร มี ค ว า ม พ อ ใจ ห รื อ ค ว า ม ส ำ ร าญ รื่ น ร ม ย์ ” (pleasure) แ ล ะ ป ร า ศ จ า ก ซึ่ง “ความ เจ็บปวด” (pain) ส่วน “ความไม่สุข” (unhappiness) หมายถึง การมีความเจ็บปวด และปราศจากซึ่งความพอใจหรือความ สำราญรื่นรมย์ ดังนั้นสำหรับชีวิตมนุษย์ สิ่งที่น่าพึงปรารถนา คือ สิ่งที่มีแนวโน้มที่จะนำมาซึ่งความพอใจหรือความสำราญ รื่นรมย์ และมีแนวโน้มที่จะทำให้หลุด พ้นจากความเจ็บปวดนั่นเอง (Mill, 1863: 137) ดังนั้นจากสาระสำคัญในข้างต้น สรุปได้ว่ารากฐานความคิดของมิลล์ ตั้งอยู่บนหลักการ ที่เรียกว่า “หลักแห่งอรรถประโยชน์”(principle of utility) โดยหลักการแห่งอรรถประโยชน์ก็คือ หลักการที่อ้างอิงอยู่กับแนวคิดเรื่อง “ความสุขที่มากที่สุดของคนจำนวนมากที่สุด” (the greatest happiness of the greatest number) ดังนั้นเมื่อชาวบ้านในชุมชนชายฝั่ง มีความสุขจากการได้อยู่อาศัยในพื้นที่ที่ปลอดมลพิษทางทะเล มีทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ มีผลผลิตทางการประมง มีความมั่นคงทางอาหาร

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3