การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

17 เกิดความสงบสุขเกิดขึ้นในชุมชนนั้นๆ ลดความขัดแย้ง เกิดความรักสามัคคี สามารถเสริมสร้างความ แข็งแกร่งให้กับชุมชนชายฝั่ง และคนในชุมชนมีหน้าที่สอดส่องดูแล ซึ่งมีเครือข่ายของชุมชน อาสาสมัคร หรือกลุ่มจิตอาสาร่วมกันบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อย่างเข้มแข็ง 2.4 แนวคิดการบริหารจัดการ เมื่อกล่าวถึงคำว่า การบริหารส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการบริหารราชการคำศัพท์ที่ใช้มี 2 คำ คือ การบริหาร (Administration) นิยมใช้กับการบริหารราชการหรือการจัดการเกี่ยวกับนโยบาย ศัพท์อีกคำหนึ่ง คือ การจัดการ (Management) นิยมใช้กับการบริหารธุรกิจเอกชนหรือการ ดำเนินการตามนโยบายที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตามคำว่า การบริหารกับคำว่า การจัดการใช้แทนกันได้ มีความหมายเหมือนกัน (องค์การและการจัดการ, 2546) กระบวนการจัดการ ให้ความหมาย คือกระบวนการดำเนินงานจะต้องเป็นไปตามขั้นตอน ตามลำดับเป็นการตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด โดยใคร นอกจากจะเป็นการลดความ ไม่แน่นอนแล้ว ยังทำให้สมาชิกในองค์กรมีความมั่นใจในการทำงานทำให้การทำงานมีประสิทธิผล การจัดลำดับการทำงานที่ดีไม่ควรมีลักษณะตายตัวต้องยืดหยุ่น ได้ตามสถานการณ์อาจมีการปรับปรุง แก้ไข หรือปรับเปลี่ยนลำดับการทำงานได้เสมอ ส่งผลให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิผลมากขึ้นด้วย (สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ, 2545) การบริหารจัดการที่ดีนั้น ต้องเป็นการบริหารงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาการ จัดการขยะในทะเล เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวก และได้รับการตอบสนองความต้องการและมีการประเมินติดตามอย่างสม่ำเสมอ สรุปได้ว่าแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการจะประกอบไปด้วยหลักการสำคัญ คือหน้าที่ การวางแผน ซึ่งเป็นขั้นตอน ในการกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการปฏิบัติเพื่อให้บ รรลุ วัตถุประสงค์นั้น การจัดองค์การจะเป็นขั้นตอนในการจัดบุคคลและทรัพยากรที่ใช้ในการทำงาน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการทำงานการนำจะเป็นขั้นตอนที่จะสามารถทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ โดยการสร้างขวัญและจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาการควบคุมจะเป็นการติดตามผลการทำงานและปรับปรุง แก้ไขเพื่อให้บรรลุผลที่ต้องการ ประกอบกับการจัดการที่ดีนั้นจะส่งผลในการดำเนินงานให้เกิด ประสิทธิภาพและจะนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต 2.5 แนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐใหม่ กา รจั ดกา รภ าค รัฐแน ว ให ม่ ห รือ เรียก ว่ า “ก ารจัดก ารนิ ย ม” (Managerialism) ห รื อ “ ก า รบ ริห า รภ าค รั ฐ ที่ อ าศั ย ระบ บ ต ล าด ” (Market-based Public Administration)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3