การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
18 หรือ“รัฐบาล แบบผู้ประกอบการ” (Entrepreneurial Government) (เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, 2545) ซึ่งคำว่า “การจัดการภาครัฐแนวใหม่” ถือได้ว่าเป็นกรอบแนวคิดที่ครอบคลุมหลักการและเทคนิค วิทยาการ ทางการจัดการอย่างกว้างขวาง และหลากหลาย จึงก่อให้เกิดความสับสนในการจำกัด ความหมาย และขอบข่ายในประเด็นดังกล่าว ในมุมกลับกันการจัดการภาครัฐแนวใหม่มีลักษณะร่วมที่ สำคัญ คือ การสะท้อนถึงการมุ่งเน้น “การปฏิรูป” การบริหารงานในภาครัฐเพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหา ทางการบริหาร ที่ตัวแบบดั้งเดิม หรือระบบบริหารแบบเดิมไม่สามารถนำไปสู่ประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลสูงสุดได้ ทั้งนี้จึงมุ่งปรับโครงสร้างของระบบราชการที่มีขนาดใหญ่ เทอะทะไปสู่องค์การ ที่มีขนาดเล็ก และ มองที่กลไกการตลาดมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการแข่งขัน และลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ นอกจากนั้น มีการปรับรูปแบบการจัดการที่เน้นเป้าหมายการใช้ระบบสัญญาว่าจ้างระยะสั้น และการ ให้แรงจูงใจ ทางการเงิน รวมถึงความเป็นอิสระทางการจัดการ (วสันต์ เหลืองประภัสร, 2548) การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่คือการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการภาครัฐโดยนำหลักการเพิ่ม ประสิทธิภาพของระบบราชการและการแสวงหาประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการที่มุ่งสู่ความ เป็นเลิศ ซึ่งตั้งอยู่บนสมมติฐานของความเป็นสากลของทฤษฎีการบริหารและเทคนิค วิธีการจัดการ ว่า สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งในแง่ของการบริหารรัฐกิจ และการบริหารธุรกิจโดยการบริหาร จัดการภาครัฐแนวใหม่นั้นจะมุ่งเน้นถึงวัตถุประสงค์และสัมฤทธิผลของการดำเนินงาน ทั้งด้านผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) และความคุ้มค่าของเงิน (Value for Money) รวมทั้งการพัฒนา คุณภาพ และสร้าง ความพึงพอใจให้แก่ประชาชนผู้รับบริการโดยนำเอาเทคนิควิธีการบริหารจัดการ สมัยใหม่ เข้ามาประยุกต์ใช้มากขึ้น การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ New Public Management (NPM) บัญญัติ 10 ประการ 1) รัฐบาลที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ถือหางเสือไม่ใช่พายเรือ 2) รัฐบาลที่เป็นเจ้าของโดยชุมชน ให้อำนาจไม่ใช่เพียงแค่ให้บริการ 3) รัฐบาลที่เน้นการแข่งขัน อัดฉีดการแข่งขันเข้าไปในการส่งมอบบริการ 4) รัฐบาลที่ขับเคลื่อนด้วยพันธกิจแปรรูปองค์การที่ขับเคลื่อนด้วยกฎระเบียบ 5) รัฐบาลที่เน้นผลลัพธ์ จัดสรรงบประมาณให้ตามผลประกอบการไม่ใช่ปัจจัยนำเข้า 6) รัฐบาลที่ขับเคลื่อนด้วยลูกค้าบรรลุความต้องการของลูกค้าไม่ใช่ของระบบราชการ 7) รัฐบาลที่เป็นผู้ประกอบการ สร้างรายได้มากกว่าการใช้จ่ายงบประมาณ 8) รัฐบาลที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า กันดีกว่าแก้ 9) รัฐบาลกระจายอำนาจจากลำดับขั้นบังคับบัญชาสู่การมีส่วนร่วมและการทำงานเป็นทีม 10) รัฐบาลที่เน้นระบบตลาด ใช้ระบบตลาดเป็นคานงัดการเปลี่ยนแปลง จากแนวคิดข้างต้นการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่การจัดการภาครัฐแนวใหม่ เป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารงานภาครัฐครั้งสำคัญ โดยนำแนวคิดของภาคธุรกิจมา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3