การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

19 ประยุกต์ใช้กับภาครัฐ เน้นสร้างผลิตภาพสูงสุด ประสิทธิภาพ ความ ประหยัด กลไกตลาด และการมี ส่วนร่วม รวมถึงมีการวัดผลจากการปฏิบัติงาน หรือผลสัมฤทธิ์ นอกจากนั้น ให้ความสำคัญกับการ กระจายอำนาจ ซึ่งมีสอดคล้องกับการจัดการให้เกิดความคล่องตัวและมีการประสานงานความร่วมมือ ของภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหาขยะในทะเลได้อย่างรวดเร็ว มีการระดมทุนร่วมกันในภาคเอกชน 2 . 6 แนวคิดการนำนโยบายสาธารณไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การสร้างนโยบายสาธารณะเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพที่ส่งผล กระทบต่อสุขภาพทั้งด้านบวกและลบ นโยบายสาธารณะไม่จำเป็นต้องเป็นนโ ยบายของรัฐเท่านั้น แต่นโยบายสาธารณะสามารถเกิดจากภาคประชาชน ภาคเอกชน ชุมชนและสังคมด้วย นโยบายสาธารณะจึงหมายถึง “ทิศทางหรือแนวทางที่สังคมโดยรวมเห็นว่า หรือเชื่อว่าควร จะดำเนินการไปในทิศทางนั้น” หัวใจสำคัญของนโยบายสาธารณะไม่ได้อยู่ที่คำประกาศ หรือข้อเขียน ที่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือเป็นทางการ แต่อยู่ที่ “กระบวนการ” ที่ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นั่นคือ นโยบายสาธารณะที่ดีต้องเป็น “นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม” สรุปได้ว่าการนำนโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ สร้างเครือความร่วมมือ และส่งเสริมหน่วยงานราชการให้ ปฏิบัติงานตามเป้าหมายที่วางไว้ 2 . 7 แนวคิดเกี่ยวกับการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แ น ว คิ ด ก า ร ก ร ะ จ า ย อํ า น า จ สู่ อ งค์ ก ร ป ก ค ร อ ง ส่ ว น ท้ อ งถิ่ น ก า ร ก ร ะ จ า ย อํ า น า จ หมายถึงการคืนอํานาจและการจัดสรรทรัพยากรในการบริหารบางส่วนจากรัฐบาลให้องค์การอื่นที่ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของราชการส่วนกลาง ได้แก่ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้จัดทําบริการ สาธารณะซึ่งมีความเป็นอิสระใน การกําหนดนโยบายและปฏิบัติตามนโยบาย ไม่อยู่ในการบังคับ บัญชาแต่อยู่ในการควบคุมของราชการส่วนกลาง กรอบแนวคิดการกระจายอํานาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยหลักการต้องการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สะท้อนปัญหาความต้องการ ของประชาชนมาเป็นกรอบในการกําหนดนโยบาย (ประกาศคณะกรรมการการกระจายอํานาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, 2551) โดยยึดหลักการและสาระสําคัญ 3 ด้าน คือ 1. ด้านความเป็นอิสระในการกําหนดนโยบายและการบริหารจัดการ 2. ด้านการบริหารราชการแผ่นดินและการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น 3. ด้านประสิทธิภาพการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากแนวคิดข้างต้น สรุปได้ดังนี้การกระจายอํานาจ คือ การคืนอํานาจและการจัดสรรทรัพยากร ในการบริหารบางส่วนจากรัฐบาลให้องค์การอื่นที่ไม่ได้ เป็นส่วนหนึ่งของราชการส่วนกลาง ได้แก่ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้จัดทําบริการสาธารณะ ซึ่งมีความเป็นอิสระในการกําหนด นโยบายและปฏิบัติตามนโยบาย ไม่อยู่ในการบังคับบัญชา แต่อยู่ในการควบคุมของราชการส่วนกลาง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3