การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
20 กระบวนการกระจายอํานาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการบริหารงานที่คล่องตัว ลดระยะเวลา เหมาะสมกับพื้นที่ในการจัดการปัญหาขยะในทะเลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในด้านของงบประมาณ อัตรากำลัง และแผนงานของหน่วยงาน สามารถดำเนินการแก้ไขและจัดการ ได้อย่างรวดเร็ว เป็นการป้องกัน ลด และควบคุม ปัญหาดังกล่าวได้ทันท่วงที 2 . 8 หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ( Sustainable Development ) การพัฒนาที่ยั่งยืนคือการพัฒนาที่สนองตอบต่อความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ทำให้คนรุ่นต่อไปในอนาคตต้องประนีประนอมยอมลดทอนความสามารถในการที่จะ ตอบ สน อ งค ว าม ต้ อ งก า รขอ งต น เอ ง ก า รพัฒ น าที่ ยั่ งยื น (Sustainable Development) เป็นวลีที่ใช้กล่าวขานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน สิ่งที่สำคัญของวลีการพัฒนายั่งยืนจึงมีความหมาย ที่ดูเหมือนจะขัดแย้งกันเองเพราะการพัฒนานั้น หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เจริญขึ้น หรือดีขึ้น (“พจนานุกรม”, 2554) กล่าวได้ว่าการพัฒนาโดยความเห็นของ (ชมพู โกติรัมย์,2555) เป็นสิ่งที่ทุกประเทศ พึงปรารถนาหลายคนให้ความสำคัญ ต่อการพัฒนาในทางเศรษฐกิจบ้าง เทคโนโลยีบ้าง แต่ถ้าพิจารณาให้รอบคอบแล้วการพัฒนาไม่ใช่เรื่องทางเศรษฐกิจอย่างเดียว หากครอบคลุมไปถึงเรื่อง อื่นๆ นอกเหนือจากด้านวัตถุหรือด้านเงินทองสำหรับ การดำรงชีวิตของมนุษย์ การพัฒนาถือได้ว่าเป็น กระบวนการหลายมิติในปัจจุบันได้มีแนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาอยู่หลายประการ เช่น เน้นความ เจริญเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภาวะทันสมัย การพึ่งพิง การกระจายรายได้ การเน้นความต้องการ ขั้นพื้นฐานในการพัฒนาการพัฒนาว่าด้วยระบบ ของโลก และแนวคิดว่าด้วยการพัฒนาแบบยั่งยืน เห็นได้ว่าแนวความคิดดังกล่าวบางทฤษฎีมีส่วนสัมพันธ์กันและขัดแย้งกันอยู่ในตัว ทั้งนี้เกิดจากการ มองต่างวาระกันแต่มีจุดมุ่งหมายเหมือนกัน คือการพัฒนาโดยเฉพาะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่ต้อง พึ่งพิงเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทันสมัย และระบบอุตสาหกรรมนิยมจากต่างชาติเพื่อให้เกิดการกระจาย รายได้ ประชาชนอยู่ดีกินดี ยิ่งในปัจจุบันด้วยแล้ว โลกตกอยู่ในกระแสแห่งการพัฒนาอยู่เสมอ เลยกลายเป็นว่าประเทศและภูมิภาคต่างๆ เชื่อมโยงด้วยเครือข่ายเดียวกัน คือ เครือข่ายความเป็น เมือง (urban network) โดยมีประเทศ ที่พัฒนาแล้วเป็นแกน และคอยตักตวงผลประโยชน์จากส่วนที่ ยังด้อยพัฒนากว่าในรูปของระบบ ทุนนิยม และระบบทุนนิยมนี้ ยังคงมีอยู่ต่อไปตราบเท่าที่โครงสร้าง ของสังคมไม่เท่ากัน แต่มีความพยายามให้เกิดการพัฒนาให้ เท่าเทียมกัน องค์การสหประชาชาติ (United Nations หรือ UN) ได้จัดการประชุมสุดยอดว่าด้วยการ พัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Summit) เพื่อรับรองวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน ค.ศ. 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development) ซึ่งในวาระดังกล่าวมีการกำหนด “เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) หรือเป้าหมาย โลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Global Goals for Sustainable Development) จำนวน 17
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3