การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
21 เป้าหมาย 169 เป้าประสงค์ (United Nations, 2015b) เพื่อใช้เป็นแผนที่นำทางสำหรับการพัฒนา ในอีก 15 ปีข้างหน้า ในที่ประชุมสหประชาชาติ มีความเห็นตรงกันว่า การจะบรรลุเป้าหมายการ พัฒนาอย่างยั่งยืน จำเป็นจะต้องสร้างความสมดุล ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ด้วยการ ส่งเสริมและเชื่อมโยงปัจจัยที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน โดยเรียกปัจจัยที่สำคัญเหล่านี้ว่า “5 P’s” โดยการส่งเสริมให้ทุกประเทศและประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเป้าหมายการ พัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาตินี้สร้างความตื่นตัวในหลายภาคส่วนทั้งในระดับสากลและภูมิภาค ส่วนอาเซียนได้มีการกล่าวถึงเป้าหมายการพัฒนาในระดับภูมิภาคเช่นกัน โดยเรียกว่า “เป้าหมายการ พัฒนาของอาเซียน” (ASEAN Development Goals หรือ ADGs) ซึ่งมีการ รับรองในปฏิญญา เนปิดอว์ว่าด้วยวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนหลังปี ค.ศ. 2015 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ณ กรุงเนปิดอว์ ประเทศเมียนมา แต่เป้าหมายดังกล่าวยังไม่มีการกำหนด รายละเอียดใด ๆ จน กระทั่ งกา รป ระชุ มสุ ด ยอดอ า เซี ยน ค รั้ งที่ 27 เมื่อช่ ว ง เดือนพ ฤศ จิก ายนที่ ผ่ าน ม า ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ก็ยังไม่มีความชัดเจนนัก อย่างไรก็ตาม หากมองในด้านเนื้อหา จะเห็นได้ว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีความพยายามมุ่งเน้นการพัฒนาโดยมีมนุษย์เป็น ศูนย์กลางมาอย่างต่อเนื่องในหลายมิติ โดยจะเห็นได้ว่า เนื้อหาของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในแบบฉบับ ของ (Sustainable Development Goals:SDGs) ในปัจจุบันก็ได้ปรากฏอยู่แล้วในข้อ 1 ของกฎบัตร อาเซียนไม่ว่าจะเป็นการรักษาสันติภาพ การแก้ไขปัญหาความยากจน การสนับสนุนหลักนิติธรรมและ การเคารพสิทธิมนุษยชน การรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการให้ความสำคัญ ต่อการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หากแต่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไม่มีกลไกใน การผลักดันร่วมกันอย่างจริงจัง การพัฒนาอย่างยั่งยืนคือการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างพอดี เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ ในระยะยาวและมีการกระจายผลประโยชน์ให้แก่คนส่วนใหญ่ รวมทั้งความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างผู้เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย (ไพฑูรย์ พงศะบุตร, 2544) สรุปได้ว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนจึงเป็นแนวความคิดการพัฒนาที่เกิดขึ้นภายหลังจาก ความล้มเหลวในการพัฒนาประเทศ ที่ไม่สามารถทำให้คนในประเทศอยู่ดีมีสุขได้ จึงต้องแสวงหา ทางออกที่นำไปสู่เป้าหมายในการพัฒนาประเทศร่วมกันของคนในชาติ โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือการพัฒนาคน ให้มีคุณภาพ คุณธรรม และความสุข ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และมีการพัฒนา อย่างยั่งยืนอันจะนำมาสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นส่งผลให้คนมีความสุขอย่างแท้จริง 2 . 9 หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย ( Polluter Pay principle : PPP ) หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย หมายความว่า “ผู้ที่ก่อให้เกิดมลพิษจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการป้องกันหรือแก้ไขให้สภาพแวดล้อมกลับคืนสู่สภาพปกติ” ซึ่งหลักผู้ ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายนี้มาจากแนวคิดพื้นฐานที่ว่า “มนุษย์ทุกคนย่อมมีสิทธิอย่างสมบูรณ์ที่จะได้อาศัย อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี” โดยหลักการดังกล่าวนี้มาจากความเชื่อที่ว่า ในปัจจุบันนี้ผู้ประกอบการผลิด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3