การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
22 สินค้าและบริการนั้นได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยไม่ได้จ่ายค่าตอบแทน จึงทำให้สินค้ามีราคาถูกกว่า ความเป็นจริง แต่ทว่าผลที่ตามมาคือทำให้ผู้ประกอบการไม่ได้ให้ความสำคัญกับการรักษาคุณภาพของ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยผู้ประกอบการต่างๆ ได้ปล่อยของเสียลงสู่แหล่งธรรมชาติ นั้นเองเป้นผู้ที่ทำการบำบัดของเสียเหล่านั้น และในเมื่อผู้ประกอบการทุกคนต่างมีความคิดเช่นว่านั้น ทำให้มีการปล่อยของเสียออกสู่ธรรมชาติเป็นจำนวนมาก จนเกินขีดความสามารถที่ธรรมชาติ จะรองรับได้ ส่งผลให้ธรรมชาติเสื่อมโทรมลงในที่สุด จึงจำเป็นต้องหามาตรการมาจัดการ ผู้ประกอบการเหล่านี้ ซึ่งหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายนี้เป็นหลักการทางเศรษฐศาสตร์ที่จะนำมาใช้ใน การจัดการสิ่งแวดล้อม กำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ก่อให้เกิดมลพิษนั้นเป็นผู้ที่ต้อง รับผิดชอบในการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการบำบัดมลพิษเหล่านั้น (ประพจน์ คล้ายสุบรรณ,2550) สรุปได้ว่าการจัดการสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยได้กลายเป็นภาระต้นทุนของประเทศ อย่างมากมายและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการ สิ่งแวดล้อมที่ใช้บังคับ อยู่ในปัจจุบันได้เน้นมาตรการควบคุมและบังคับ เป็นหลัก และ ไม่ได้นำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ มาใช้เท่าที่ควร ทำให้กฎหมายขาดประสิทธิภาพ เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่ มีอยู่ในปัจจุบัน ถูกนำมาใช้เกี่ยวกับการเก็บค่าธรรมเนียม การใช้ทรัพยากรมากกว่าสร้างแรงจูงใจให้ผู้ก่อมลพิษลดการ ก่อ และเปลี่ยน แปลงพฤติกรรมของตนเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงสมควรที่รัฐควรนำเครื่องมือ หรือมาตรการทางเศรษฐศาสตร์มาใช้มากขึ้นเพื่อเสริมความเข้มแข็งในการจัดการ สิ่งแวดล้อม ของประเทศไทย 2 . 10 กฎหมายไทยและต่างประเทศ เพื่อให้สามารถศึกษาเปรียบเทียบสถานการณ์การจัดการขยะในทะเลและคราบน้ำมันของ กฎหมายระหว่างประเทศ และต่างประเทศ โดยคำนึงถึงบริบทของประเทศที่มีการจัดการขยะในทะเล อย่างมีประสิทธิภาพ อันได้แก่ สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐไต้หวัน และประเทศญี่ปุ่น 2.10.1 กฎหมายระหว่างประเทศ สำหรับมาตรการระหว่างประเทศในการป้องกันลดและควบคุมภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม ทางทะเลจากแหล่งบนบกนั้นอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 (The United Nations Convention on the Law of the Sea 1 9 8 2 : UNCLOS) (The United Nations Convention on the Law of the Sea 1982: UNCLOS, 2563) ข้อ 207 วรรค 4 กำหนดให้รัฐโดย ดำเนินการผ่านองค์การระหว่างประเทศที่มีอำนาจหรือการประชุมทางทูต จะต้องพยายา ม ที่จะกำหนดกฎเกณฑ์ มาตรฐานและแนว ปฏิบัติและวิธีดำเนินการที่ได้รับการเสนอแนะในระดับ ภูมิภาคและระดับโลก เพื่อป้องกัน ลดและ ควบคุมภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อมทางทะเลจากแหล่งบน บก โดยคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของภูมิภาค ความสามารถทางเศรษฐกิจและความต้องการเพื่อการ พัฒนาทางเศรษฐกิจของรัฐกำลังพัฒนากฎเกณฑ์ มาตรฐานและแนวปฏิบัติและวิธีดำเนินการที่ได้รับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3