การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

24 ไ ม่ มี ลั ก ษ ณ ะ ผู ก พั น แ ต่ ป ร ะ ก า ร ใ ด เ นื่ อ ง จ า ก ไ ม่ มี ส ถ า น ะ เ ป็ น ส น ธิ สั ญ ญ า แต่ (Government Procurement Agreement :GPA) ก็เป็นตราสารระหว่างประเทศเพียงฉบับ เดียวที่วางแนวทางในการกำหนดกฎเกณฑ์และมาตรฐานระหว่างประเทศในการป้องกัน ลดและ ควบคุมภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อมทางทะเลจากแหล่งบนบก ทั้งนี้ไม่นับรวมถึงความตกลงใน ระดับ ภูมิภาคต่างๆ เกี่ยวกับการป้องกัน ลดและควบคุมภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อมทางทะเลจากแหล่งบน บกซึ่งมีผลผูกพันและใช้บังคับแก่รัฐต่างๆ ในภูมิภาคนั้นๆ เท่านั้น โดยรับเอาแนวทางที่กำหนดไว้ใน (Government Procurement Agreement :GPA) ไปพัฒนาและปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับ ลักษณะเฉพาะของภูมิภาคนั้นๆ 2.10.2 มาตรการทางกฎหมายและมาตรการอื่นๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับการออกมาตรการทางกฎหมายของรัฐในการป้องกัน ลดและควบคุมภาวะ มลพิษจากแหล่งบนบกนั้น ข้อ 207 ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 (The United Nations Convention on the Law of the Sea 1982: UNCLOS) กำหนดให้รัฐ จะต้องออกกฎหมายและข้อบังคับเพื่อป้องกัน ลดและควบคุมภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อมทางทะเล จากแหล่งบนบกรวมทั้งแม่น้ำปากแม่น้ำ (estuaries) แนวท่อ และสิ่งก่อสร้างเพื่อการระบายน้ำ โดยคำนึงถึงกฎเกณฑ์ มาตรฐานและแนวปฏิบัติและวิธีดำเนินการที่ได้รับการเสนอแนะซึ่งตกลงกัน ระหว่างประเทศ นอกจากนี้แล้วรัฐยังต้องใช้มาตรการอื่นๆ เท่าที่อาจจำเป็นเพื่อป้องกัน ลดและควบคุมภาวะมลพิษ จากแหล่งบนบกดังกล่าวด้วย อนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน ควบคุมและแก้ไขมลพิษทางทะเลที่สำคัญอีกฉบับหนึ่ง คือ อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันมลภาวะทางทะเล เนื่องจากการทิ้งวัสดุเหลือใช้และวัสดุอย่างอื่น ค .ศ . 1972 ห รือ อนุสัญญ า ลอนดอน 1972 (Convention on the Prevention of Marine Pollution by Dumping of Wastes and other Matter, 1972) (Convention on the Prevention of Marine Pollution by Dumping of Wastes and other Matter, 1972, 2515) และ พิธีสาร ค.ศ.1996 ของอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันมลภาวะทางทะเล เนื่องจากการทิ้งวัสดุเหลือ ใช้และวัสดุอย่างอื่น ค.ศ. 1972 หรือพิธีสาร ลอนดอน 1996 (1996 Protocol to the Convention on the Prevention of Marine Pollution by Dumping of Wastes and Other Matter, 1972) 2.10.3 กฎหมายต่างประเทศ 1) สาธารณรัฐสิงคโปร์ มีการจัดทำแผนและกฎหมายที่มุ่งจัดการขยะที่ต้นทางเพื่อลดภาระ ในการกำจัดที่ปลายทาง และได้จัดทำแผนแม่บทปลอดขยะ (Zero Waste Masterplan) เมื่อปี ค.ศ. 2019 กำหนดวิสัยทัศน์ที่จะปรับเปลี่ยนประเทศไปสู่ประเทศปลอดขยะ (Zero Waste Nation) ปั จจุบัน มีกฎ ห ม ายที่ เกี่ย วข้อ งกับ ก ารส่ ง เส ริมแล ะรักษ าคุณ ภ าพสิ่ งแ วดล้ อม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3