การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

25 พระราชบัญญัติการจัดการท รัพยากรอย่างยั่งยืน (Resource Sustainability Act, 2019 ) ที่มีสาระสำคัญเป็นการวางระบบเกี่ยวกับการลดการใช้ นำกลับมาใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reduce Reuse and Recycle: 3R) เป็นครั้งแรกของสาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดกรอบการบริหารจัดการที่ให้ผู้ที่ได้ประโยชน์จากการขายหรือจำหน่ายสินค้าจะต้องมีส่วน รับผิดชอบต้นทุนในการเก็บรวบรวมและจัดการผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วหรือเมื่อกลายเป็นของเสีย เพื่อ กระตุ้นให้ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์มีการลดการใช้วัสดุ การใช้ซ้ำหรือรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ และเพื่อให้มีการคัด แยกและจัดการขยะอาหารอย่างเหมาะสม โดยกฎหมายดังกล่าวมุ่งเน้นจัดการขยะ 3 ประเภท ได้แก่ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Waste: E-waste) ขยะบรรจุภัณฑ์ (Packaging Waste) และขยะ อาหาร (Food Waste) กฎหมายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสิงคโปร์ตระหนักถึงความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจภาค การผลิตและการบริโภคภายในประเทศ การออกกฎหมายโดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหน้าที่และ ความรับผิดของบุคคลทั้งของเอกชนและหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐที่เพิ่มขึ้น สะท้อนการใช้หลัก เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คือการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรธรรมชาติในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการของเสีย วัตถุดิบ สินค้าที่หมดอายุ และพลังงาน ให้กลับไปเป็นทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในระบบด้วยกระบวนการที่เหมาะสม จากเดิมที่มักใช้ระบบ เศรษฐกิจแบบเส้นตรง (Linear Economy) คือการนำทรัพยากรมาผลิตสินค้าและเมื่อเลิกใช้แล้วจะ ถูกทิ้งไม่นำกลับมาใช้อีก ซึ่งเศรษฐกิจ แบบเส้นตรงนี้ส่งผลกระทบต่อโลกในหลายมิติดังที่ประสบอยู่ ปัจจุบัน (SCG, 2563) 2) สาธารณรัฐไต้หวันได้ทำการปฏิรูประบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงปลาย ทศวรรษ 1980 โดยได้ยกร่างกฎหมายสิ่งแวดล้อมกว่า 70 ฉบับและหนึ่งในนั้น คือ การปรับปรุง แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการกำจัดของเสีย (Waste Disposal Act: WDA) ปี ค.ศ. 1987 กฎหมายฉบับนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างระบบรีไซเคิล กำหนดกฎหมายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เคร่งครัด โดยออกกฎหมายสนับสนุนการรีไซเคิล โดยทุกภาคส่วนทุกระดับมีส่วนร่วมเสียภาษีให้กับรัฐบาล เนื่องจากถือว่าเป็นภาระของสังคม พร้อมทั้งมีบทลงโทษชัดเจนสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบการจัดการและบริหารขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดในโลก ได้รับความ ร่วมมือจากประชาชน โดยเริ่มต้นด้วยการจัดการให้ทุกคนนำขยะไปทิ้งที่รถขนขยะด้วยตนเอง แทนที่จะทิ้งตามจุดต่างๆ รวมทั้งลดจำนวนถังขยะในพื้นที่สาธารณะ มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นให้ดาว โหลดลงในโทรศัพท์มือถือ เพื่อตรวจสอบการเคลื่อนที่ของรถขยะ และส่งสัญญาณเตือนเมื่อรถกำลั ง เข้ามาใกล้จุดทิ้งขยะ ทั้งที้มีการจัดการที่เป็นระบบในเรื่องขยะ ควบคู่ไปกับการออกกฎหมายลงโทษ ผู้กระทำความผิดในด้านนี้อย่างเคร่งครัด ความสำเร็จในการบริหารขยะและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดนี้ ทำให้สาธารณรัฐไต้หวัน ได้รับการยกย่องเป็น เมืองต้นแบบในการจัดการขยะ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3