การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
27 รัฐบาลมีหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับของเสีย การวางแผนการจัดการของเสียใน ภาพรวม พัฒนาเทคนิคการจัดการของเสีย กำหนดมาตรการเพื่อให้มีการจัดการของเสียอย่าง เหมาะสม และสนับสนุนทางเทคนิคและการเงินในการจัดการของเสียแก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้สามารถบริหารจัดการของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ รัฐบาลกลางจะต้องปรับปรุง ระบบการจัดการของเสียในภาพรวมของประเทศให้เหมาะสมอยู่เสมอ (มาตรา 4 วรรคสาม) จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมของประเทศญี่ปุ่นที่ผ่านมาที่ทำให้ประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะ เป็นสังคมที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจสูง ทำให้ประเทศญี่ปุ่นต้องมีการกำหนดนโยบาย กฎหมาย ตลอดจนกฎระเบียบต่าง ๆ ในการบริหารจัดการของเสียและการรักษาความสะอาดที่สาธารณะอย่าง เป็นระบบ และมีลักษณะที่เป็นการบูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน ซึ่งจะเห็น ได้จากกฎหมายหลักเกี่ยวกับการบริการจัดการของเสียและเทศบัญญัติของแต่ละเทศบาลที่ได้มีการ กำหนดอำนาจและหน้าที่ในการบริหารจัดการของเสีย โดยแบ่งเป็นทั้งระดับรัฐบาลกลาง องค์การ ปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการ และประชาชน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีการตรากฎหมายหรือ กฎระเบียบที่มีความเข้มงวดมากเพียงใด แต่หากประชาชนในประเทศไม่มีจิตสำนึกในการรักษาความ สะอาดและการจัดการของเสียอย่างถูกวิธีแล้ว ก็คงไม่สามารถทำให้นโยบายของรัฐบาลบรรลุ เป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ ดังนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้มีการจัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกของ ประชาชนในประเทศในการรักษาความสะอาดและการจัดการของเสียอย่างถูกวิธี รวมทั้งกำหนดให้ ประชาชนและผู้ประกอบการมีหน้าที่ในการบริหารจัดการของเสียที่อยู่ในความรับผิดชอบของตน และ รักษาความสะอาดในที่สาธารณะไปพร้อมกันด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกของ ประชาชนในลักษณะที่ให้ประชาชนเริ่มต้นจากการรักษาความสะอาดในพื้นที่ส่วนตัวของตนเองและ รับผิดชอบในการจัดการของเสียที่ตนเองก่อให้เกิดขึ้นก่อน แล้วจึงขยายขอบเขตความรับผิดชอบ ไปสู่ที่สาธารณะที่ตนได้ใช้ประโยชน์ เมื่อประชาชนทุกคนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดและมี ความรับผิดชอบในส่วนตัวแล้ว ก็จะส่งผลต่อการบริหารจัดการโดยรวมของประเทศให้ประสบ ความสำเร็จตามเป้าประสงค์ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าการประยุกต์ใช้หลักคิดเช่นนี้ไว้ในร่างกฎหมายเป็นสิ่งที่ น่าสนใจ เพราะเป็นการปลูกจิตสำนึกสาธารณะให้แก่ประชาชนอย่างเป็นระบบ กฎหมายจึงมิใช่การ บังคับให้ทำหรือห้ามมิให้กระทำการใดแต่เพียงอย่างเดียว และนอกจากการกระตุ้นจิตสำนึกของ ประชาชนแล้ว การให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการของเสียอย่างถูกต้องและการปฏิบัติของหน่วยงาน ของรัฐอย่างชัดเจนก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและเข้มแข็งระหว่างภาครัฐกับ เอกชนด้วย จากกฎหมายต่างประ เทศทั้ง 3 ป ระ เทศนั้น เห็น ได้ ว่าการออกกฎหมายภ าย ใน ของแต่ละประเทศมีลักษณะเป็นการมุ่งเน้นการออกกฎหมายเฉพาะในเรื่องการจัดการขยะต้นทาง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3