การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

29 มาตรา 9 ให้คณะรัฐมนตรีนำเสนอร่างยุทธศาสตร์ชาติต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้ความเห็นชอบ และมีพระบรม ราชโองการประกาศใช้เป็นยุทธศาสตร์ชาติต่อไป ในปัจจุบันได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศใช้ ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2560) ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาประเทศคือ “ประเทศชาติ มั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติ ยั่งยืน” และมีประเด็นยุทธศาสตร์ชาติหลายด้าน แต่ส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้แก่ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายดังนี้ (1) อนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมให้คนรุ่นต่อไปได้ใช้ อย่างยั่งยืนมีสมดุล (2) ฟื้นฟูและสร้างใหม่ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดผลกระทบทางลบ จากการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจของประเทศ (3) ใช้ประโยชน์และสร้างการเติบโตบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมดุล ภายในขีดความสามารถของระบบนิเวศ (4) ยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกำหนดอนาคตประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมบนหลักของการมีส่วนร่วมและธรรมาภิบาล ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมประกอบไปด้วย ประเด็นหลายประเด็น คือ สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบน สังคมเศรษฐกิจภาคทะเลนั้น มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับการสร้างการเติบโตของประเทศจาก กิจกรรมทางทะเลที่หลากหลายควบคู่ไปกับการดูแลฐาน ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทั้งหมด ภายใต้อำนาจและสิทธิประโยชน์ของประเทศที่พึงมีพึงได้เพื่อความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ ทางสังคม โดยมุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องทะเลที่ถูกต้องและเพียงพอเพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจ ฐานชีวภาพทางทะเล ปรับปรุงและฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทั้งระบบ พัฒนาและเพิ่ม สัดส่วนกิจกรรมทางทะเลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคม เศรษฐกิจสีเขียวนั้น มุ่งเน้นการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจให้เติบโตและมีความเป็นธรรมบนความ สมดุลของฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วยเศรษฐกิจฐานชีวภาพ เพื่อนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มความเป็น ธรรมทางสังคม สามารถลดความเสี่ยงของ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาความขาดแคล ของทรัพยากรลงได้ โดยมีเป้าหมายสู่สังคม ที่ มีระดับคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้นแต่มีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมต่ำลง โดยผ่านแนวทางและมาตรการ ต่างๆ เช่น การบริโภคและการผลิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม เพิ่มพื้นที่สีเขียวและป่าไม้รักษาฐาน ทรัพยากรสัตว์ป่าและความหลากหลายทาง ชีวภาพ ส่งเสริมให้สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพดีขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3