การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

30 คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้ออาทร และเสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติ (ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580), 2561) แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล (พ.ศ.2558 - 2564) เป็นกรอบแนวทางสำหรับการดำเนินการของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมปกป้อง และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างเสถียรภาพ ความปลอดภัย เสรีภาพ และ สภาวะแวดล้อม ที่เอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมทางทะเลของทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน โดยมีสำนักงาน สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ในส่วนการขับเคลื่อนแผนความมั่นคง แห่งชาติทางทะเล มีคณะกรรมการนโยบายและอำนวยการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล (นอปท.) เป็นกลไกในการจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล อำนวยการและกำกับดูแล ตลอดจนติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง และมีศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ทำ หน้าที่ประสานช่วยเหลือ และสนับสนุนการปฏิบัติของหน่วยงานต่างๆ โดยดำเนินการร่วมกับส่วน ราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติภารกิจทางทะเล (แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล (พ.ศ.2558 - 2564), 2558) พระราชบัญญัติความรับผิดทางแพ่งต่อความเสียหายจากมลพิษน้ำมันอันเกิดจาก เรือ พ.ศ.2560 พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การขนส่งน้ำมันส่วนใหญ่จะขนส่งทาง เรือเดินทะเล เป็นหลัก เรือบรรทุกน้ำมันเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น การปล่อยทิ้งน้ำมันลงในทะเล การรั่วไหลของน้ำมัน หรือการประสบอุบัติภัยของเรือบรรทุกน้ำมันแล้ว ก่อให้เกิด ความเสียหาย มลพิษน้ำมันเหล่านี้ไม่เพียงก่อความเสียหายในบริเวณที่เกิดเหตุเท่านั้น แต่ ยังอาจขยายไปสู่ รัฐอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงด้วย องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ ( International Maritime Organization) จึงได้ จัดทําอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งสําหรับ ความเสียหายจากมลพิษของน้ำมัน ค.ศ. 1992 (International Convention on Civil Liability for Oil Pollution Damage, 1992) ขึ้น เพื่อให้มี การชดใช้ความเสียหายจากมลพิษน้ ำมัน โดย กําหนดให้เจ้าของเรือต้องรับผิดอย่างเคร่งครัดและต้องเอาประกันภัย หรือจัดหาหลักประกันทางการ เงินอื่นใดเพื่อชดใช้ความเสียหายและประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว จึงสมควรมี กฎหมายที่มีมาตรการเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งต่อความเสียหายจากมลพิษน้ำมัน อันเกิดจากเรือ ให้สอดคล้องกับอนุสัญญานั้นด้วย จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ (พระราชบัญญัติความรับผิด ทางแพ่งต่อความเสียหายจากมลพิษน้ำมันอันเกิดจากเรือ พ.ศ.2560, 2560)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3