การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

31 พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 กำหนดให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดี มอบหมายมีอำนาจสั่งให้บุคคลที่ก่อให้เกิดความ เสียหายอย่างร้ายแรงต่อทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่ง ระงับการกระทำหรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิด ความเสียหาย กรณีจำเป็นเร่งด่วนและไม่มีหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเกี่ยวกับทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง โดยให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นผู้ดำเนินการเพื่อแก้ไขหรือบรรเทาความ เสียหายที่เกิดขึ้น ต่อทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่งก็ตาม อย่างไรก็ดี พระราชบัญญัตินี้ก็ ไม่ได้ระบุหน่วยงานหลักในการจัดการขยะในทะเล เป็นเพียงการพิจารณาถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพียงเท่านั้น (พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558, 2558) พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุม โดยการห้ามทิ้ง เท หรือกระทำการทำให้ขยะลงสู่ทะเล และมี อัตราโทษปรับกำหนดไว้ชัดเจนก็ตาม แต่โทษปรับดังกล่าวน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับความ เสียหายที่ เกิดขึ้นต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเล อีกทั้งมิได้กำหนดวิธีการหรือแนวทางจัดการ ไว้เป็นรูปธรรมอันส่งผลให้ปริมาณขยะลงสู่แม่น้ำและไหลลงสู่ทะเลมากขึ้นในที่สุดข้อห้ามและ บทลงโทษ จุดมุ่งหมายของพระราชบัญญัตินี้คือป้องกันและควบคุมมิให้ผู้ใดทิ้งสิ่งปฏิกูลในทางน้ำ ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท องค์กรหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุม ให้ปฏิบัติตาม กฎหมาย คือ เจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งได้แก่นายกเทศมนตรีในเขตเทศบาล ประธ าน กรรมการ สุขาภิบาลในเขตสุขาภิบาล ผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครในเขตกรุงเทพมหานคร ปลัดเมืองพัทยาในเขตเมืองพัทยา และหัวหน้าผู้บริหารส่วน ท้องถิ่นขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เขตอำนาจรัฐ คำว่า “ทางน้ำ” ตามพระราชบัญญัตินี้มิได้ ให้ ความหมายว่ามีขอบ เขตแค่ ไหน แต่ ในที่นี้หมายความถึงทางน้ำภ าย ในดินแดนของรัฐ ซึ่งรัฐมีอำนาจอธิปไตยในการควบคุมดูแล ดังนั้นเมื่อ “ทางน้ำ” ตามพระราชบัญญัติจำกัดอยู่แค่ เฉพาะในอาณาเขตที่รัฐมีอำนาจอธิปไตย เขต อำนาจรัฐจึงจำกัดอยู่ในน่านน้ำภายใน (Internal Waters) ทะเลอาณาเขตเท่านั้น (พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของบ้านเมือง พ.ศ.2535, 2535) พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ไม่ได้กำหนด นิยามและหลักการเกี่ยวกับขยะในทะเลโดยตรง หากแต่เมื่อพิจารณา คำนิยามตาม มาตรา 4 แล้ว “ขยะทะเล” ถือเป็น “มลพิษ” และเป็น “ของเสีย” ตามมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ซึ่งมลพิษ หมายความว่า

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3