การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

32 ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่นๆ รวมทั้งกากตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ที่ถูกปล่อย ทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิด ผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และให้หมายความรวมถึงรังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่น ที่เกิด หรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดมลพิษด้วย และ ของเสีย หมายความว่า ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อาการเสียมลสาร หรือวัตถุอันตรายอื่นใด ซึ่งถูกปล่อยทิ้งหรือมีที่มาจากแหล่งกำเนิดมลพิษ รวมทั้งกากตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ที่อยู่ในสภาพของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ และแม้ว่าพระราชบัญญัตินี้จะให้อำนาจรัฐมนตรีในการประกาศกำหนดหลักเกณฑ์อื่นใด เพื่อควบคุม ด้วยวิธีการที่เหมาะสมถูกต้องตามหลักวิชาการก็ตามแต่ไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีได้ประกาศกำหนด หลักเกณฑ์เกี่ยวกับขยะทะเลจากแหล่งบนบกแต่อย่างใด สำหรับการบังคับใช้นั้น พระราชบัญญัตินี้ กำหนดเขตอำนาจใช้บังคับเฉพาะแต่ในราชอาณาจักรไทย อันได้แก่ พื้นที่หรือบริเวณที่ประเทศไทยมี อำนาจอธิปไตยซึ่ง ไม่เกินความกว้างของ ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเล ห้วงอากาศเหนือแผ่นดินและ เหนือทะเลอาณาเขตเท่านั้น แต่มิได้มีผลบังคับใช้ในเขตเศรษฐกิจ จำเพาะที่ประเทศไทยได้ประกาศ และกำหนดความกว้างไว้ 200 ไมล์ทะเลวัด จากเส้นฐานที่ใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต และ ไหล่ทวีป ที่ประเทศไทยได้ประกาศกำหนด ความกว้างและทำความตกลงกำหนดเขตไหล่ทวีปไว้กับ ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น Agreement Concerning the Delimitation of the Trijunction Point and the Delimitation of the Related Boundaries of the Three Countries in the Andaman Sea เมื่อ 22 June 1978 ดังนั้นการควบคุมขยะในทะเลที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและ ไหล่ทวีปของประเทศไทยจึงไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัตินี้ (พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535, 2535) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติฉบับนี้ แม้จะมีการกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการ บริการสาธารณะ ในมาตรา 16 (24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นั้น โดยให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจ และหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของ ตนเอง ในการจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้นแต่ ก็ยังคงพบเห็นปัญหาของการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างไม่ถูกต้อง อันมาเนื่องจากแต่ละท้องที่มี ความแตกต่างและความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากร ตลอดจนแม้มีการกำหนดในมาตรา 17 (12) การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ในการ จัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นในการคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3