การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

34 2 . 11 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษางานวิจัยเรื่องที่ 1 มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการปล่อยทิ้งขยะจากการ ปฏิบัติการของเรือเดินทะเล (ชลธิศ รันสินโย, 2562) พบว่ามีมาตรการว่าด้วยเรื่องการควบคุม การปล่อยทิ้งขยะจากเรือเดินเดินทะเลปรากฎในกฎหมายภายในหลายฉบับ แต่ก็พบปัญหาสำคัญ หลายประการที่ส่งผลให้การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ปัญหาเรื่องขอบเขต การบังคับใช้กฎหมายต่อเรือที่ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงเขตเศรษฐกิจจำเพาะ และปัญหาเรื่องหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวด้วยการปล่อยทิ้งขยะจากเรือเดิน ทะเลที่ไม่มีความชัดเจนในส่วนของกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่เป็นการเฉพาะ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการควบคุมการปล่อยทิ้งขยะจากเรือเดินทะเล ซึ่งมีข้อเสนอแนะโดยการ ปรับปรุงกฎหมายภายในที่มีอยู่ ให้สอดคล้องกับการควบคุมการปล่อยทิ้งขยะจากการปฏิบัติการของ เรือเดินทะเลตามหลักเกณฑ์ระหว่างประเทศ การศึกษางานวิจัยเรื่องที่ 2 เรื่องปัญหาอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย สิ่งแวดล้อมในอาณาเขตทะเลไทย ซึ่ง (นนทวัช ประหยัด และคณะ, 2559) พบว่าพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มีขอบเขตการบังคับใช้ที่เป็นน่านน้ำภายใน และทะเลอาณาเขตของประเทศไทยเท่านั้น ส่วนเขตพื้นที่อื่นๆไม่ว่าจะเป็นเขตต่อเนื่อง เขตเศรษฐกิจ จำเพาะ และไหล่ทวีป ซึ่งเป็นอาณาเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วย กฎหมายทะเล ค.ศ.1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 ที่จะต้องมี การผูกพันตามพันธกรณี ในการส่ง เสริมและรักษาคุณภ าพสิ่งแวดล้อมใน เขตท้องทะ เล เมื่อพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ไม่อาจจะใช้บังคับได้ แล้วย่อมทำให้เกิดปัญหาต่อการบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทย เมื่อประเทศไทยได้มีการเข้าร่วม อนุสัญญากรุงเจนิวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมาย ทะเล ค.ศ. 1982 อย่างสมบูรณ์แล้วประเทศไทยจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามพันธกรณีต่างๆ ที่ปรากฏ อยู่ในอนุสัญญาดังกล่าวทั้ง 2 ฉบับ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกัน ลด หรือควบคุมมลพิษที่ เกิดขึ้นในอาณาเขตทางทะเลต่างๆ การศึกษางานวิจัยเรื่องที่ 3 เรื่องมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้เสียหายจากผู้ทำละเมิด ต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่ง (ประทีป ทับอัตตานนท์ และคณะ, 2563) พบว่า แม้พระราชบัญญัติส่งเสริมและ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 มาตรา 96 จะกำหนดความรับผิดทางแพ่งต่อผู้เสียหายของ เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษที่ก่อ ให้เกิด รั่วไหล แพร่กระจายของมลพิษเป็นเหตุ ให้ ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย สุขภาพอนามัยหรือทรัพย์สินของผู้อื่นหรือของรัฐ โดยมีข้อยกเว้น ความรับผิดบางประการ ตามหลัก “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับผิดชอบในค่าใช้จ่าย”(Polluter Pays Principle) หรือ PPP” ไว้ก็ตาม โดยมีข้อยกเว้น 3 ข้อนั้น ซึ่งจากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นเหตุให้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3