การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

35 ผู้เสียหายมีสิทธิในการเรียกค่าเสียหายได้ แต่ผู้เสียหายนั้นจะต้องดำเนินคดีด้วยตนเองทั้งที่บุคคล เหล่านั้นอยู่ในฐานะที่ยากลำบากในการแสวงหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ในความเสียหายของตน ทั้งรัฐใช้ระบบกล่าวหาในการพิจารณาคดี ทั้งการพิจารณาคดีใช้ระยะเวลาที่นานและมีค่าใช้จ่ายมาก ซึ่งมีข้อเสนอแนะ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 โดยเพิ่มคำนิยาม และปรับปรุงกฎหมายในมาตรา 4 คดีสิ่งแวดล้อม หมายถึง คดีที่ผู้เสียหายหรือหน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหน่วยงานของเอกชนที่ได้รับอนุญาตจากรัฐตามกฎหมายนี้ ได้ฟ้องเจ้าของหรือผู้ ครอบครองแหล่งมลพิษโดยเพิ่มเติม มาตรา 97/1 การดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมของผู้เสียหายตามมาตรา 96 และมาตรา 97 ให้กรมควบคุมมลพิษหรือคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือองค์กรเอกชน ที่ได้รับการจดทะเบียนตามมาตรา 7 แล้ว เป็นผู้มอำนาจดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมแทนผู้เสียหายได้การ ดำเนินคดีตามวรรคหนึ่ง ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่รวมถึงความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม ในชั้นที่สุด และเพิ่มข้อความในมาตรา 23 ดังนี้ มาตรา 23 (6) เป็นค่าเยียวยาความเสียหายให้แก่ ผู้เสียหายตามมาตรา 96 ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราในการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ ผู้เสียหายที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง การศึกษางานวิจัยเรื่องที่ 4 ปัญหาขยะทะเลในประเทศไทย (วิกานดา วรรณวิเศษ, 2563) พบว่า ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) ประเทศทั้งหมด 192 ประเทศที่มีอาณาเขตติดทะเลทิ้งขยะ พลาสติกรวมกัน 275 ล้านตัน และมีปริมาณขยะพลาสติกรั่วไหลลงสู่ทะเล 4.8 – 12.7 ล้านตัน ทั้งนี้ประเทศที่มีปริมาณขยะรั่วไหลลงสู่ทะเลมากที่สุด 10 อันดับแรกของโลก นับเป็นประเทศ ที่อยู่ในภูมิภาคอาเซียนถึง 5 ประเทศ และประเทศไทยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีปริมาณ ขยะรั่วไหลลงสู่ทะเลมากที่สุด เป็นอันดับ 6 ของโลก และปัญหาขยะทะเลกลายเป็นปัญหา ซึ่งมีแนวโน้มว่ากำลังทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากความสูญเสียชีวิตของ สัตว์ทะเลหายากจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความสำคัญกับการหา แนวทางในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในทะเลอย่างจริงจังมากขึ้น ซึ่งมีข้อเสนอแนะเห็นควรปรับ แนวคิดว่าขยะทะเลเป็นเรื่องของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน ประชาชน รวมไปถึงภาควิชาการ ที่ต้องร่วมรับผิดชอบและร่วมกันดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นระบบที่สอดคล้องกัน ควรแก้ไขปัญหาที่ต้นทาง โดยการทิ้งขยะให้ถูกที่ และลดการใช้อย่างไม่จ ำเป็น จึงจะสามารถ แก้ไขปัญหาขยะทะเลให้หมดไปได้อย่างแท้จริง ควรให้ความสำคัญกับการป้องกันขยะทะเลมากกว่า การแก้ไขปัญหาขยะทะเล เนื่องจากการแก้ไขปัญหาขยะทะเลนั้นทำได้ยากและมีต้นทุนสูงทั้ง ค่าใช้จ่ายและต้นทุนทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ควรประกาศใช้ Roadmap การจัดการขยะ พลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573 โดยเร็วเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งประชาชนได้รับทราบและ ร่วมกันดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อลดขยะพลาสติกให้หมดไปจากประเทศไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3