การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

38 9) พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 10) พระราชบัญญัติความรับผิดทางแพ่งต่อความเสียหายจากมลพิษน้ำมันอันเกิดจากเรื อ พ.ศ.2560 11) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ.2565 3 . 2 การวิจัยภาคสนาม ( Field Research ) ผู้วิจัยได้เลือกการเข้าไปเก็บข้อมูลภาคสนามเพื่อสอบถามและพูดคุยกับบุคคลที่สามารถให้ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ ทั้งในรูปแบบของการสังเกตการณ์ การสอบถาม การพูดคุย และการสัมภาษณ์ อย่างเป็นทางการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถอธิบายได้ถึงประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา ในพื้นที่ จังหวัดภูเก็ต เนื่องจากจังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดเดียวที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะ และเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งเป็นที่รู้จักในเรื่องของหาดทรายที่สวยงาม น้ำทะเลใส ท้องทะเล ที่งดงามเหมาะสำหรับการดำน้ำ รวมทั้งมีสิ่งอำนวยความสะดวก รองรับนักท่องเที่ยวอย่างครบครัน 1. สัมภาษณ์เชิงลึก เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึก ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการขยะ ในทะเลหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากขยะทะเล โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ตามประเด็นที่ได้กำหนดไว้ ล่วงหน้า และดำเนินการสัมภาษณ์โดยตรงระหว่างผู้วิจัยกับผู้ให้ข้อมูลหลัก 2 ขอบเขตด้านผู้ให้ข้อมูลหลัก ผู้ให้ข้อมูลหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในการสัมภาษณ์เชิงลึกแบ่งเป็น 4 กลุ่ม จำนวน 17 คน ประกอบด้วย 1) กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนี้ (1) ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต (2) ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 15 (จ.ภูเก็ต) หรือผู้แทน (3) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบนหรือ ผู้แทน (4) ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต (5) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตหรือผู้แทน (6) ผู้อำนวยการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดภูเก็ตหรือผู้แทน (7) ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 หรือผู้แทน (8) หัวหน้าอุทยานแห่งชาติสิรินาถ จังหวัดภูเก็ตหรือผู้แทน 2) กลุ่มเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (1) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตหรือผู้แทน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3