การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

40 3 . 3 เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการ จัดการขยะในอาณาเขตทะเลไทย เพื่อเป็นแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ดังนี้ 1) สร้างแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) 2) นำแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่สร้างขึ้นให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คนตรวจสอบความตรง ของเนื้อหา (Content of Validity) ของข้อซักถามแต่ละข้อเพื่อหาค่าความสอดคล้อง ของสิ่งที่ต้องการวัดโดยหาค่า IOC (Index of congruence) 3) ปรับปรุงแก้ไขแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ 4) นำแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา (Content of Validity) ยื่นต่อคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งได้รับ การรับรองแล้วตามแนวทางหลักจริยธรรมการวิจัยในคนที่ เป็นมาตรฐานสากล ได้แก่ Declaration of Helsinki, The Belmont Report, CIOMS Guideline และ International Conference on Harmonization in Good Clinical Practice หรือ ICH-GCP ตามใบรับรองที่ COA No.TSU 2021_161, REC No.0222 เมื่อได้แบบสัมภาษณ์แบบมี โครงสร้างที่มีความเชื่อมั่น แล้วนำแบบสัมภาษณ์ ไปเก็บข้อมูลเพื่อดำเนินการวิจัย โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ไปทำการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายด้วยตนเองตามประเด็นข้อคำถามที่กำหนดไว้ ในแบบสัมภาษณ์ต่อไป 3 .4 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยมีลำดับขั้นตอนในการ วิเคราะห์ ดังนี้ 1. ผู้วิจัยจะนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ โดยนำคำสัมภาษณ์ หรือบันทึกสัมภาษณ์ จากผู้ถูกสัมภาษณ์มาเปรียบเทียบระหว่างแต่ละบุคคล และจัดลำดับความสำคัญและคุณลักษณะ ของข้อมูล 2. นำข้อมูลจากการสัมภาษณ์ที่จัดลำดับความสำคัญแล้ว นำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลทาง เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดทฤษฎี วรรณกรรมการเกี่ยวข้องเพื่อที่จะได้ทราบ ถึงลักษณะที่มีความคล้ายคลึงกัน และแตกต่างกันของข้อมูล 3. นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ และจากการศึกษาเอกสารต่างๆ มาทำการวิเคราะห์ข้อมูล อย่างเป็นระบบ และนำไปสู่การเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน แสดงความสำคัญของข้อมูลได้ชัดเจน ยิ่งขึ้น เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์และการเขียนรายงาน ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะเป็นข้อมูลที่ไม่ใช่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3