การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

44 โดยการจัดเก็บขยะตกค้างในระบบนิเวศแบบมีส่วนร่วมหลายภาคส่วน ทั้งระบบนิเวศปะการัง ชายหาด และป่าชายเลน การใช้มาตรการลดปริมาณขยะในชุมชนเป้าหมายบริเวณชายฝั่งทะเล รวมทั้งการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำข้อมูลองค์ความรู้มาใช้จัดการปัญหาที่เกิดขึ้นจากขยะทะเลทั้ง ในด้านของชนิดและปริมาณขยะที่ลงสู่ปากแม่น้ำ การศึกษาผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและต่อ สัตว์ทะเลหายาก นอกจากนี้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งยังได้ร่วมมือกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนชายฝั่งในพื้นที่และภาคส่วนต่างๆ กลุ่ม จิตอาสา อาสาสมัคร ในการพัฒนาแนวทางในการจัดเก็บขยะเพื่อลดขยะที่มีแนวโน้มจะลงสู่ทะเล โดย การจัดเก็บขยะแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือที่ได้มีการทดลองใช้ ตามความเหมาะสมนำไปใช้จัดเก็บขยะต้นทาง ซึ่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีการร่วมมือกับบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด มหาชน (SCG) มีการวางตาข่ายดักขยะบริเวณปลายท่อระบายน้ำเพื่อลดปริมาณขยะจากแหล่งชุมชน ริม ชายฝั่งที่จะไหลลงสู่แหล่งน้ำ และได้มีการนำร่องในพื้นที่เทศบาลเมืองระยอง การจัดเก็บขยะกลาง ทาง เป็นการกักเก็บขยะที่อยู่ในแม่น้ำลำคลองก่อนไหลออกสู่ทะเล โดยการวางทุ่นกักขยะ ( Boom) บริเวณปากแม่น้ำและคลองสาขาที่เชื่อมกับทะเล ซึ่งในปีงบประมาณ 2562 ดำเนินการทั้งหมดรวม 24 จุด ในพื้นที่ 11 จังหวัดชายฝั่ง จากผลที่ได้ดำเนินการในช่วง 5 เดือน สามารถกักขยะที่มีแนวโน้ม จะไหลลงสู่ทะเลได้จำนวน 196,787 ชิ้น น้ำหนักรวมมากกว่า 20 ตัน ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2563 มีแผนในการติดตั้งทุ่นกักขยะใน 24 จังหวัดชายฝั่ง หากได้รับงบประมาณในการจัดหาทุ่นกักขยะ เพิ่มเติมจากปี 2562 ซึ่งจากโครงการที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ดำเนินการมาแล้วนั้นก็ยัง ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เห็นได้จากปริมาณขยะในทะเลที่พัดกลับเข้ามาสู่ชายฝั่งเป็นประจำ ในช่วงฤดูมรสุมของทุกปี และการจัดเก็บขยะปลายทางในทะเลต้องอาศัยความร่วมมือในการแก้ไข ปัญหาของทุกภาคส่วน ต่อมากรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้รับงบประมาณในการจัดหาเรือเก็บขยะ จำนวน 2 ลำ โดยในปี 2562 นี้สามารถนำไปใช้งานเก็บขยะในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ได้ขอตั้งงบประมาณปี 2563 ในการจัดหาเพิ่มเติมอีก 2 ลำ และในปี 2565 มีเรือเพิ่มขึ้นถึง 6 ลำ ซึ่งจะเป็นอีกส่วนอีกที่ช่วยลดปริมาณ ของขยะลงสู่ทะเลได้อย่างดี โดยมีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมทั้งฝั่งทะเลอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน รวมทั้งการเตรียมความ พร้อมในภารกิจการเก็บกู้ขยะในทะเลเมื่อมีเหตุหรือกรณีเฉพาะกิจอื่น ตามที่ได้กล่าวมาทั้งหมด กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ดำเนินการในพื้นที่ชายฝั่งทะเล 24 จังหวัดของประเทศไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3