การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
46 ท่าเรือ ท่อน้ำทิ้ง หรือแม้กระทั่งบริเวณริมชายฝั่ง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเอาผิดกับผู้ก่อเหตุได้รับ การลงโทษตามที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตามจากการสัมภาษณ์จากหน่วยงานกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในการบริหาร จัดการขยะในทะเล มีหน้าที่ในการร่วมกันเก็บขยะจากบูมดักขยะ (Boom) บริเวณปากแม่น้ำก่อนที่ ขยะจะลงสู่ทะเลและนำเรือไปเก็บกู้ขยะในทะเล บริเวณผิวน้ำ ซึ่งเรือดังกล่าวสามารถ เก็บขยะได้ คราวละ 4 ตัน ด้วยระบบสูบน้ำเข้าทางปากเรือที่เปิดได้แล้วลำเลียงผ่านสายพาน heavy duty ไป เก็บในตะกร้าเก็บขยะ มีระบบกัก จัดเก็บ และขจัดคราบน้ำมันกรณีเกิดเหตุน้ำมันรั่วไหลในทะเล ได้ เช่นเดียวกัน ถือได้ว่าเรือลำดังกล่าวของกระทรวงทรัพยากรทางทะเลเป็นเจ้าของนั้น มีศักยภาพใน การจัดการกับขยะในทะเลได้พอสมควร แต่ในการออกไปเก็บกู้ขยะในทะเล แต่ละครั้งนั้น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงในการออกไป เก็บกู้ขยะในทะเล ซึ่งถ้าในอนาคตขยะในทะเลยังคงมีปริมาณมาก หรือประเทศเพื่อนบ้านได้ทิ้งขยะ ลงสู่ทะเลและพัดกลับเข้ามาสู่ฝั่งของประเทศไทยก็ดี ค่าใช้จ่ายในการออกไปเก็บกู้ขยะในทะเลแต่ละ ครั้งก็เป็นภาระความรับผิดชอบของหน่วยงานกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และเมื่อเก็บกู้ขยะ ในทะเลดังกล่าวกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งก็จะดำเนินการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน พื้นที่รับผิดชอบนำขยะเข้าสู่ระบบการจัดการขยะต่อไปการจัดการขยะจากแหล่งบกก็มีค่าใช้จ่ายอีก ด้วย เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า ต้นทุนในการจัดการขยะในทะเลทุกภาคส่วนต้องสูญเสียอย่างไร้ ประโยชน์เป็นงบประมาณที่สูง หากนำเงินงบประมาณดังกล่าวมาจัดทำสาธารณูปโภคพื้นฐานให้แก่ ประชาชนอย่างทั่วถึง ก็ยังดีกว่านำเงินงบประมาณมาจัดการกับการแก้ไขปัญหาขยะในทะเลเป็น ประจำทุกปี เห็นได้ว่าหน่วยงานกรมทรัพยากรการทางทะเลและชายฝั่งไม่ได้มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการ ควบคุมดูแลขยะในทะเลที่ลอยอยู่บริเวณกลางทะเลเป็นหลัก ประกอบกับการจัดเก็บขยะในทะเลนั้น ต้องใช้เรือขนาดใหญ่ในการออกไปแต่ละครั้งซึ่งอาจไม่ได้ทำประจำในทุกๆวัน ส่งผลให้ปัญหาขยะใน ทะเลยังคงพบเห็นได้ เช่น แพขยะกลางทะเลที่ลอยขนาดใหญ่ เมื่อโดนแสงแดดที่มีความร้อนขยะใน ทะเลก็จะแตกตัวกลายเป็นชิ้นเล็กๆ กระจายตัวหรืออาจจมลงสู่ก้นทะเลติดกับซากปะการังซึ่งการเก็บ กู้ทำได้ยาก ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล ปะการังเสียหาย สัตว์น้ำตายจากการกลืนกินขยะ โดยไม่มีหน่วยงานของรัฐหน่วยงานใดเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักของการจัดการขยะในทะเล ดังกล่าว ซึ่งจากการศึกษามีเพียงการกำหนดพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง “เกาะโลซิน” เพื่อดำเนินการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น แต่ประเทศไทยยังขาดการดำเนินงานเรื่องของการแบ่งเขตทางทะเล การใช้ประโยชน์ทางทะเลอย่าง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3