การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
47 เป็นระบบและการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเล ยังไม่มีความเป็นเอกภาพ ขาดการบูรณาการและการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นในการเข้ามาร่วมกันแก้ไข ปัญหา และเมื่อพิจารณาถึงพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นแล้วนั้น อำนาจหน้าที่และภารกิจของ หน่วยงานก็ไม่อาจเข้าไปแก้ไขหรือจัดการกับปัญหาขยะในทะเลและคราบน้ำมันให้เกิดประสิทธิภาพ กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2545 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2566 มาตรา 120/25 วรรค 2 ให้อำนาจกรมเจ้าท่า ให้กรมเจ้าท่าดำเนินการเพื่อให้มีการบูรณาการในการ ปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเฝ้าระวัง ตรวจสอบ หรือเตรียมการป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ใดที่อาจเป็นการละเมิดหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติในส่วนนี้ กรมเจ้าท่าได้ออกกฎข้อบังคับการตรวจกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการตรวจเรือเพื่อ ป้องกันมลพิษจากขยะ พ.ศ.2559 เพื่อให้มีการจัดการขยะจากเรือเป็นไปอย่างเหมาะสมตาม อนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการป้องกันมลพิษ จากเรือ ค.ศ.1973 และพิธีสาร ค.ศ.1978 ภาคผนวกที่ 5 กรมเจ้าท่า ได้เข้าร่วมโครงการระหว่างประเทศทั้งระดับนานาชาติและระดับภูมิภาค ที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการแก้ไขปัญหาขยะทางทะเลเช่น โครงการ GloLitter (IMO-FAO- NORWAY GloLitter Partnership) และโครงการ MEPSEAS พร้อมเร่งรัดผลักดันการเข้าเป็นภาคี อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ภาคผนวกที่ 5 ว่าด้วยการป้องกันมลพิษขยะจากเรือ (MARPOL Annex V) ที่สืบเนื่องจากประเทศไทย มีนโยบายที่จะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา MARPOL Annex V เพื่อร่วมมือกับนานาประเทศในการควบคุมเรือเดินทะเลและสิ่งก่อสร้างในทะเล ไม่ให้มีการ ทิ้งขยะลงในทะเล เป็นไปที่อนุสัญญาดังกล่าวกำหนดไว้ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่า ด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ 1982 (อนุสัญญา UNCLOS 1982) เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมมลพิษ ของสิ่งแวดล้อมทางทะเลรวมทั้งออกระเบียบกรมเจ้าท่า ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองผู้ให้ บริการจัดเก็บและบำบัดของเสียจากเรือประเภทขยะและกากของเสียต่างๆ ในฐานะที่กรมเจ้าท่าเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลการคมนาคมทางทะเล การให้ความสำคัญด้าน การควบคุมภาวะมลพิษทางทะเลจากเรือจึงจำเป็นและต้องอาศัยความร่วมมือในหลายภาคส่วน จึงได้มีการกำหนดมาตรการต่างๆ พร้อมจัดกิจกรรม โครงการต่างๆเพื่อป้องกันการทิ้ง ขยะจากเรือ โดยจุดประสงค์ของการดำเนินการจัดกิจกรรมและโครงการในครั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความตระหนัก รับรู้แก่ประชาชน ชุมชน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างจิตสำนึกในด้าน สิ่งแวดล้อม ที่จะนำ ไปสู่การปรับแก้พฤติกรรมของคน จากการสัมภาษณ์ หน่วยงานรัฐ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3