การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
50 มนุษย์ที่ทิ้งขยะลงสู่ทะเล จึงได้มีข้อสั่งการให้ทุกหน่วยงานภายใต้สังกัดดำเนินกิจกรรม ที่ส่งเสริมสนับสนุน ลดการใช้ขยะ มีวัตถุประสงค์ เพื่อลดปริมาณขยะ เพื่อให้การจัดการขยะ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการจัดการของกรมเจ้าท่าเป็นการดำเนินงานภายใน หน่วยงานขาดการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ทำให้การแก้ไขปัญหาขยะในทะเลไม่เกิด ประสิทธิภาพ กรมประมง เมื่อพิจารณาตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 มาตรา 4 มีจุดมุ่งหมาย ในการจัดระเบียบประมงในประเทศไทยและในน่านน้ำทั่วไป เพื่อรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำ รักษาสภาพ สิ่งแวดล้อม ซึ่งกรมประมงไม่ได้มีภารกิจหลักในการจัดการขยะในทะเล แต่มีพันธกิจ ในการสร้าง สมดุลการประมงที่รักษ์สิ่งแวดล้อมพร้อมให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่องและมั่นคงโดยมีหน้าที่ในการ ดำเนินการ คือ ดูแลด้านการประมง และรับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดีเกี่ยวกับขยะในทะเล เพราะผลพวงจากขยะทะเลที่เกิดขึ้น คือ ระบบนิเวศที่เปลี่ยนแปลงไป และจำนวนประชากรและ ความสูญเสียของทรัพยากรสัตว์น้ำ ดังเห็นได้จากในข่าว และนับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น ด้วยเหตุนี้ เมื่อ 2 ปีก่อน (พ.ศ. 2562) กรมประมงจึงได้ร่วมกับชาวประมงทั้งประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ ผู้ที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลโดยตรง ในการริเริ่มนำแนวคิดการไม่สร้างขยะในท้องทะเล และการเก็บขยะในท้องทะเล มาแปลงเป็นทุน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ภายใต้การบริหารจัดการของ ชุมชนประมง จนปัจจุบันสามารถบริหารจัดการและกำจัดออกจากทะเลไปจำนวน 196,876 กิโลกรัม สร้างรายได้นำไปพัฒนาชุมชน ซึ่งมีความสอดคล้องกับมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 พฤษภ าคม 2564 โดยพล เอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม ที่เห็นชอบในโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การนำขยะ มารีไซเคิลหมุนเวียนให้เกิดรายได้ใช้พัฒนาชุมชน โดยมีโครงการ “ขยะคืนฝั่ง ทะเลสวยด้วยมือเรา” โดยกรมประมงร่วมกับสมาคม การประมงแห่งประเทศไทยและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน รณรงค์ให้ ชาวประมงดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในพื้นที่เขตทะเลและชายฝั่งให้สะอาดนำขยะทะเลคืนฝั่งภายใต้ กรอบแนวคิด “รับรู้ต้นตอปัญหา เกิดจิตสำนึกตระหนัก ให้ความเห็นร่วมสมัครเข้าทำกิจกรรมสร้าง สัมพันธ์ ให้ความร่วมมือ ยึดปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง” ซึ่งเมื่อได้ศึกษาพบว่าศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (PIPO) ของกรมประมง จำนวน 30 แห่ง ทั่วประเทศ เป็นการร่วมมือกับกลุ่มเรือประมงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนกิจกรรมฯ ดังกล่าว ปัจจุบันมีชาวประมงเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 4,328 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2564) มีขั้นตอนการดำเนินการโดยผู้ควบคุมเรือประมงทุกลำที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ จะต้องจดบันทึกรายงาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3