การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
51 ขยะที่เก็บมาแต่ละครั้ง แนบพร้อมการส่งสมุดบันทึกการทำประมง (LB) เพื่อให้ศูนย์ PIPO ตรวจสอบ และบันทึกปริมาณขยะลงในระบบ โดยในอนาคตจะมีการซื้อขายขยะและจัดตั้งกองทุน นอกจากนี้ ยังได้ประสานงานไปยังท่าเทียบเรือทุกแห่งที่จดทะเบียนกับกรมประมง ให้จัดจุดรวบรวม คัดแยกขยะ จากทะเล และประชาสัมพันธ์ให้ชาวประมงที่ออกเรือ ลดการใช้ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลาย ได้ยาก ไม่เทเศษสิ่งของเหลือใช้ หรือเครื่องมือ อุปกรณ์ ของใช้ในเรือประมงลงสู่ทะเลซึ่งจากดำเนิน กิจกรรมดังกล่าวเป็นระยะเวลา 3 ปี ได้มีการสรุปรายงานผลปริมาณขยะ คืนฝั่งที่เก็บมาได้ปัจจุบัน ทั้งหมดจำนวน 182,876 กิโลกรัม (ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2564) แบ่งเป็นขยะที่เก็บใน เรือประมงจำนวน 139,682 กิโลกรัม ขยะจากทะเล 43,194 กิโลกรัม ซึ่งส่วนใหญ่ประเภทขยะ ที่พบมากที่สุดคือ เศษอวน รองลงมาเป็นขวดพลาสติกขวดแก้ว และขยะอื่นๆ ทั้งนี้ขยะที่รวบรวมไว้ จะมีการส่งต่อไปสู่กระบวนการนำกลับมาใช้ซ้ำเพื่อให้คุ้มค่าที่สุด หรือนำกลับมาใช้ใหม่ หรือกำจัดด้วยวิธีที่ถูกต้อง แต่ลักษณะโครงการดังกล่าวเป็นเพียงกิจกรรมที่รณรงค์ให้กับชาวประมง และเรือพาณิชย์เป็นการขอความร่วมมือมากกว่าการกำหนดความรับผิด หากเรือประมงหรือเรือ พาณิชย์ทิ้งขยะลงในทะเล โดยไม่มีการควบคุมอย่างจริงจัง ก็ไม่ต่างกับการจัดกิจกรรมเป็นครั้ งคราว เห็นได้ว่าเรือประมง หรือเรือพาณิชย์ในการนำเรือออกจากฝั่งนั้นแต่ละครั้ง ก็ไม่ได้คำนึงถึง ขยะที่นำออกไปจากฝั่งอาจหล่นหายระหว่างทาง หรือจงใจในการทิ้งลงสู่ทะเล จากกิจกรรมในทะเล เช่น นักท่องเที่ยวได้ทิ้งขยะลงในทะเลโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม และที่สำคัญการเก็บขยะในทะเล กลับเข้ามาสู่ฝั่งนั้นเรือพาณิชย์ และเรือประมงนั้น ไม่ได้มีอุปกรณ์เฉพาะในการเก็บขยะในทะเล หรือการจัดเก็บขยะในทะเลทำได้ยากและอันตราย เพราะฉะนั้นกิจกรรมดังกล่าวก็ไม่ได้รับความนิยม ซึ่งมีแนวคิดจากการสัมภาษณ์หน่วยงานของรัฐ คือ สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดภูเก็ต มีแนวคิดในการสร้างเสริมและปลูกสร้างจิตสำนึกให้กับชุมชนชายฝั่งให้เป็นชุมชนด้านการท่องเที่ยว มีหน้าที่ในการดูแลจัดการขยะในทะเลและริมชายฝั่ง เพื่อรับผิดชอบต่อสังคม เพราะถือเป็นผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียจากกิจกรรมที่มีนักท่องเที่ยวได้มาใช้บริการ สร้างรายได้ และเป็นแหล่งรายได้หลักของชุมชน แนวคิด “นักท่องเที่ยว คุณภาพ” เมื่อเข้ามาท่องเที่ยวในชุมชนแล้วนั้นก็ต้องช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากร ด้วยเช่นกัน เห็นได้จากกิจกรรมที่นิยมของกลุ่มนักท่องเที่ยว คือการดำน้ำเก็บขย ะใต้ท้องทะเล ซึ่งเป็นที่สนใจของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและคนไทยที่นิยมดำน้ำ และหน่วยงานสุดท้าย คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่หลักในการจัดการลด และคัดแยกขยะ ซึ่งมีการบูรณาการร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตามหนังสือ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ มท 0810.5/ว 2903 เรื่อง การบริหารจัดการขยะมูลฝอยพื้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3