การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
52 ที่ริมชายฝั่งทะเล โดยมุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาขยะพื้นที่ริมชายฝั่งทะเล ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำ ลำคลองที่อยู่ในระยะ 1 กิโลเมตรจากชายฝั่งทะเล และเกาะในขอบเขตความรับผิดชอบของ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และลดผลกระทบด้ านสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศริมชายฝั่งทะเล จากหนังสือดังกล่าวผู้วิจัยเห็นด้วยกับการบูรณาการกับหน่วยงานที่ เป็นหน่วยงานหลักในการป้องกัน และควบคุม ไม่ให้ขยะลงสู่ในทะเล ด้วยปัจจัยของที่ตั้งในชุมชนอาจ เกิดกระแสน้ำพัดพาขยะจากแหล่งบก หรือในชุมชนที่อยู่อาศัยลงสู่ทะเลได้โดยง่าย ซึ่ งรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 250 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอำนาจดูแลและจัดทำบริการ สาธารณะและกิจกรรมสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561 - 2580) ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และกฎหมายจัดตั้งกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่รักษา ความสะอาด ที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล โดยกำหนดให้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น พัฒนาระบบการเก็บ ขน และกำจัดขยะให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทั่วทุกเขตพื้นที่ รับผิดชอบของตน โดยเฉพาะทางน้ำ เป็นหลักการสำคัญในการดำเนงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน และเมื่อพิจารณาถึงพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 67 (2) องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล จะเห็นได้ว่าล้วนแล้วแต่เป็นบทบาทหน้าที่หลักในการดูแล และ รักษาความสะอาดของพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบ ผลการสัมภาษณ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่าการดำเนินงานตามกรอบที่วางไว้นั้นไม่มีประสิทธิภาพ ในส่วนของจัดการขยะให้เป็นไปตามหลัก วิชาการ เช่นการฝังกลบขยะ ณ จุดฝังกลบไม่สามารถจัดการขยะได้ เมื่อถูกกระแสน้ำพัดพาลงสู่แม่น้ำ หรือทะเลในลักษณะของพื้นที่เกาะ หรือชุมชนชายฝั่ง การส่งเสริมให้สร้างประโยชน์หรือมูลค่าให้กับ ขยะนั้น ไม่ เป็นที่นิยมอีกทั้ งต้อ งใช้ ต้นทุน ใน กา ร ล งทุน สู ง อาทิ เค รื่อ งจัก ร ขน าด ใหญ่ เมื่อกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งวางทุ่นในการเก็บขยะจากปากน้ำขึ้นมาบนบกขยะดังกล่าว จะเป็นความรับผิดชอบในการนำไปกำจัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่นั้นๆต่อไป ในการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ซึ่งจากการสัมภาษณ์ของหน่วยงานภาครัฐ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนและสถานประกอบการ ตลอดจนกลุ่มจิตอาสา ในประเด็นการ จัดการขยะในชุมชนชายฝั่ง มีข้อสังเกตว่า เมื่อชุมชนในปัจจุบันเป็นชุมชนเมือง ความร่วมมือ ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนอาจลดน้อยลง เนื่องด้วยประชาชนต้องประกอบอาชีพเลี้ยงตนเอง ทำให้ไม่มีเวลาในการรวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน ประกอบกับการคัดแยกขยะครัวเรือน ในปัจจุบัน ก็ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีการทิ้งขยะทุกประเภทรวมกันในถังขยะเดียวกัน และการลักลอบทิ้ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3