การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
60 เฉพาะที่ว่าด้วยการป้องกันและควบคุมขยะในทะเลโดยตรง มีเพียงมาตรการในการลงโทษการ กระทำความผิดของบุคคลที่มีเจตนาทิ้งขยะลงในทะเลเท่านั้น แต่ก็ยังพบเห็นปัญหาขยะในทะเล เนื่องด้วยในสถานการณ์ปัจจุบันไม่มีหลักเกณฑ์กลางที่ชัดเจน ในการกำหนดมาตรฐานระหว่าง ประเทศที่ไปในทิศทางเดียวกัน หรือการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย และการนำ เทคโนโลยีสมัยใหม่ๆเข้ามาปรับใช้ สะท้อนให้เห็นว่ากฎหมายภายในของแต่ละประเทศนั้นไม่มี การบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การควบคุม ป้องกันขยะในทะเลยังคงตกค้างอยู่ใน ทะเล ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้เพียงประเทศใดประเทศหนึ่งหากต้องอาศัยความร่วมมือ และมุ่งเป้าสู่การจัดการขยะในทะเลอย่างจริงจังซึ่งประเทศที่มีการสร้างและพัฒนาระบบการ จัดการที่ดีนั้น ผู้วิจัยมองว่าประเทศญี่ปุ่นมีการจัดการขยะได้ดีเห็นได้จากการวางแผนการจัดการ ในการบริหารจัดการของเสียให้เป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคน ผู้ประกอบการ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และรัฐบาลในการร่วมกันแก้ไขปัญหา ส่งผลให้ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่พัฒนา ด้านการจัดการขยะในทะเล จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลทุกกลุ่มเห็นควรให้มีมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการ ขยะที่อยู่ ในอาณ า เขตทะ เล ไทย โดย เป็นกฎหมายที่มีสภ าพบังคับมากกว่าน โยบาย ควรมีการออกกฎหมายกำหนดให้ประชาชนในฐานะผู้ทำให้เกิดขยะ มีหน้าที่ในการคัดแยกขยะ การขาดจิตสำนึกของประชาชนเป็นปัญหาประการหนึ่งที่ทำให้การบริหารจัดการขยะของประเทศ ไทยไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้น การออกกฎหมายกำหนดให้ประชาชนในฐานะผู้ทำให้ เกิดขยะมีหน้าที่ในการคัดแยกขยะควบคู่กับการรณรงค์สร้างจิตสำนึกอาจมีส่วนช่วยในการแก้ไข ปัญหาดังกล่าว และมีข้อเสนอแนะที่ว่าควรจัดตั้งทีมลาดตระเวนตามชายฝั่งทะเลโดยชุมชน ชายฝั่งและในทะเลโดยให้มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐและประชาชน เช่น กรมเจ้าท่า ในการออกลาดตระเวน และชุมชนชายฝั่งสามารถแจ้งเหตุการณ์ลักลอบทิ้งขยะ ลงในทะเล และควรจัดการตั้งสำนักงานควบคุมดูแลความสะอาดเรียบร้อยประจำจุดต่างๆ ณ ชายฝั่งทะเลของแต่ละจังหวัด โดยการควบคุมดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีหน้าที่ รับผิดชอบในการจัดการขยะที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเก็บกู้ขยะจากในทะเล กลับเข้า สู่ฝั่งต่อไปเพื่อให้ครบวงจรของการจัดการขยะในทะเล และการป้องกันและควบคุมขยะในทะเล ของต่างประเทศหลังจากที่ไทย เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกําลังดําเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายภายในให้ สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ เพื่อให้ไทยสามารถใช้สิทธิตามที่อนุสัญญาฯให้ไว้ อีกทั้งเพื่อให้อํานาจ แก่เจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมกิจกรรมทางทะเลได้อย่างสมบูรณ์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3