การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

62 ในชุมชน และมีการร่วมระดมความคิดเห็นในประเทศไทย ส่วนใหญ่นั้นไม่มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน เนื่องด้วยการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐบาล เอกชน มีเป้าหมายที่ต่างกัน เห็นได้ชัดจากผลการดำเนินงานที่ส่วนใหญ่แล้วนั้น ภาครัฐจะเน้นการจัดกิจกรรม ลักษณะของโครงการที่เป็นกิจกรรมเป็นครั้งคราว (Even) ส่งผลให้การดำเนินงานไม่เป็นไปอย่าง ต่อเนื่องและยังขาดการติดตามประเมินผลโครงการอีกด้วย ผู้วิจัยเห็นว่าควรให้หน่วยงานทั้ง 4 หน่วยงานดังกล่าวข้างต้นมีการบูรณการจัดการขยะในทะเลร่วมกัน โดยออกเป็นพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่าน้ำไทย (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2566 ควรกำหนดเพิ่มมาตรา 120/25 วรรค 3 เพื่อให้มีผลบังคับเป็นกฎหมายต่อไป สำหรับรูปแบบการจัดการขยะทะเลในอาณาเขตทะเลไทยพบว่าประเทศไทยได้มีการจัดการขยะ ครบวงจรทั้งขยะบนบกและขยะในทะเล โดยมีความร่วมมือของภาคเอกชน ภาครัฐ และเครือข่าย อนุรักษ์ทรัพยากรชุมชน ซึ่งภาครัฐให้การสนับสนุนทำให้เกิดกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน อย่างแท้จริงกับการจัดการขยะทะเลและขยะตกค้าง ผลจากการสัมภาษณ์ผู้ว่าราชการจังหวัด จะเห็นได้ว่าการประชาสัมพันธ์ค่อนข้างจะไม่ทั่วถึง หรือการระดมความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ ไม่ค่อยกระจายมีสมาชิกเฉพาะกลุ่มที่ เข้าร่วม ทำให้การดำเนินงานไม่เกิดประสิทธิภาพ ซ้ำยังก่อให้เกิดความคิดเห็นที่แตกต่างในการเข้ามาร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังหรือแม้กระทั่ง การจัดการขยะในทะเลที่ประชาชนเข้ามาแก้ไขปัญหายังไม่มีกฎหม ายรองรับ หรือให้อำนาจ กับประชาชนอย่างชัดเจน ภูเก็ตได้กำหนดนโยบายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขับเคลื่อนในพื้นที่ ชุมชนชายฝั่ง และรวมกลุ่มในการดำเนินกิจกรรมแต่ขาดความต่อเนื่องและในบางครั้งผู้นำชุมชน รับผิดชอบหลายกิจกรรมส่งผล ให้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ผู้วิจัยจึงเห็นควรกำหนดโครงการ (CSR) ที่จะบริหารจัดการขยะ ในทะเลอย่างต่อเนื่องในแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงาน เพื่อช่วยลด ปริมาณและป้องกันการเกิดขยะขึ้นใหม่ จัดทำมาตรการลดปริมาณขยะในพื้นที่เป้าหมาย จัดเก็บขยะ ร่วมกับหน่วยงาน ชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนั้นจึงเห็นควรให้มีการติดตั้งกล้อง CCTV หรือ ใช้เทคโนโลยีในการเก็บบันทึกเหตุการณ์บริเวณ ท่าเรือ ท่อน้ำทิ้ง หรือแม้กระทั่งบริเวณ ริมชายฝั่งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเอาผิดกับผู้ก่อเหตุได้รับการลงโทษตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนประเด็นการป้องกันและควบคุมขยะในทะเลของกฎหมายไทยและต่างประเทศ พบว่า มีมาตรการและการแก้ไขปัญหา 6 มาตรการได้แก่ บริหารจัดการเชิงพื้นที่ กำหนดมาตรการเพื่อ ควบคุมคุณภาพน้ำ ติดตามตรวจสอบ สร้างความเข้าใจถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม สร้างเครือข่ายชุมชนใน การอนุรักษ์ทรัพยากรเพื่อให้ชุมชนตระหนัก การบูรการของหน่วยงานที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการ คุณภาพน้ำ ซึ่งจากมาตรการทั้ง 6 นี้ สามารถนำมาเป็นแนวทางในการป้องกันและควบคุมขยะใน ทะเลได้ ในส่วนของการศึกษากฎหมายสาธารณรัฐสิงคโปร์ มีการกำหนดกฎหมายที่เข้มข้นหากกระทำ ความผิดจะมีบทลงโทษที่รุนแรง ส่วนสาธารณรัฐไต้หวัน มีการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมที่ส่งผล

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3